ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๔. ปุปผวรรค ๑. ปัญจสตภิกขุวัตถุ

๔. ปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยดอกไม้
๑. ปัญจสตภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ดังนี้) [๔๔] ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้๑- ยมโลก๒- และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ใครจักเลือกบทธรรม๓- ที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น [๔๕] พระเสขะ๔- จักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ยมโลก และมนุษยโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก พระเสขะจักเลือกบทธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว เหมือนช่างดอกไม้ผู้ชาญฉลาดเลือกเก็บดอกไม้ ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ แผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงอัตภาพ (ขุ.ธ.อ. ๓/๒) @ ยมโลก หมายถึงอบายภูมิ ๔ (ขุ.ธ.อ. ๓/๒) @ บทธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๓/๒) @ พระเสขะ หมายถึงพระอริยบุคคล ๗ จำพวก มีพระโสดาบัน เป็นต้น ผู้ศึกษาตามไตรสิกขา @คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๓/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๔. ปุปผวรรค ๓. วิฑูฑภวัตถุ

๒. มรีจิกัมมัฏฐานิกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐานมีพยับแดดเป็นอารมณ์ ดังนี้) [๔๖] ภิกษุผู้รู้แจ้งว่า ร่างกายนี้เปรียบเหมือนฟองน้ำ รู้ชัดว่า ร่างกายนี้มีลักษณะดุจพยับแดด๑- ตัดพวงดอกไม้ของมาร๒- ได้แล้ว ก็จะไปถึงสถานที่ที่มัจจุราชหาไม่พบ๓-
๓. วิฑูฑภวัตถุ
เรื่องเจ้าชายวิฑูฑภะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๗] มฤตยู๔- ย่อมฉุดคร่านรชนผู้มีใจติดข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ผู้มัวแต่เลือกเก็บดอกไม้๕- อยู่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับไหลไป ฉะนั้น @เชิงอรรถ : @ ชื่อว่า เหมือนฟองน้ำ เพราะจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน @ชื่อว่า ดุจพยับแดด เพราะปรากฏในที่ไกลเหมือนเป็นรูปที่จะยึดถือจับต้องได้ แต่พอเข้าใกล้กลับว่างเปล่า @ยึดถือจับต้องไม่ได้เลย ดำรงอยู่ได้ชั่วกาลนิดหน่อย (ขุ.ธ.อ. ๓/๔) @ ตัดพวงดอกไม้ของมาร หมายถึงตัดวัฏฏะในภูมิ ๓ (กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ) ได้ด้วยอริยมรรค (ขุ.ธ.อ. ๓/๔) @ สถานที่มัจจุราชหาไม่พบ หมายถึงอมตนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๓/๔) @ มฤตยู หมายถึงความตาย (ขุ.ธ.อ. ๓/๒๕) @ ดอกไม้ ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๓/๒๔-๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๔. ปุปผวรรค ๖. ปาฏิกาชีวกวัตถุ

๔. ปติปูชิกาวัตถุ
เรื่องนางปติปูชิกา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๘] มฤตยูย่อมทำคนที่มีใจติดข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ผู้มัวแต่เลือกเก็บดอกไม้อยู่ ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลาย๑- ให้ตกอยู่ในอำนาจ
๕. มัจฉริโกสิยเสฏฐิวัตถุ
เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้ตระหนี่
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๙] ภมรไม่ทำลายดอก สี และกลิ่น ดูดแต่น้ำหวานไป ฉันใด มุนีพึงเที่ยวไปในหมู่บ้าน ฉันนั้น๒-
๖. ปาฏิกาชีวกวัตถุ
เรื่องอาชีวกชื่อปาฏิกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อุบาสิกาผู้รับใช้อาชีวกชื่อปาฏิกะ ดังนี้) [๕๐] บุคคลไม่พึงใส่ใจถ้อยคำแสลงหูของคนอื่น ไม่พึงเพ่งเล็งกิจที่คนอื่นทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ แต่พึงตรวจดูกิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่อิ่มในกามทั้งหลาย หมายถึงผู้ไม่อิ่มในกิเลสกามและวัตถุกาม มุ่งแต่จะแสวงหา มุ่งแต่จะให้ได้มา @มุ่งแต่จะใช้สอย และมุ่งแต่จะสะสม (ขุ.ธ.อ. ๓/๒๙) @ ความหมายในคาถานี้คือ มุนีผู้เป็นทั้งพระเสขะและพระอเสขะเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านตามลำดับเรือน @รับเอาภิกษาหารโดยไม่ทำลายศรัทธาและทรัพย์ของชาวบ้าน ดุจหมู่ผึ้งที่บินเข้าไปในหมู่ไม้ดูดเอาแต่น้ำหวาน @ไม่ทำลายดอก สี และกลิ่นของต้นไม้ ในคาถานี้ ตรัสถึงคุณสมบัติของพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๓/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๔. ปุปผวรรค ๙. อานันทเถรวัตถุ

๗. ฉัตตปาณิอุปาสกวัตถุ
เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้) [๕๑] วาจาสุภาษิต๑- ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม๒- เหมือนดอกไม้งาม มีสีสวย (แต่) ไม่มีกลิ่น [๕๒] วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี เหมือนดอกไม้งาม มีทั้งสีและมีกลิ่น ฉะนั้น๓-
๘. วิสาขาวัตถุ
เรื่องนางวิสาขา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๕๓] สัตว์ผู้มีอันจะต้องตาย เมื่อเกิดมาแล้ว ควรสร้างกุศลไว้ให้มาก เหมือนช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมากจากกองดอกไม้ ฉะนั้น
๙. อานันทเถรวัตถุ
เรื่องพระอานนทเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้) [๕๔] กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา @เชิงอรรถ : @ วาจาสุภาษิต ในที่นี้หมายถึงพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก (ขุ.ธ.อ. ๒/๔๔) @ ผู้ไม่ทำตาม หมายถึงบุคคลผู้ไม่ตั้งใจประพฤติตามพระพุทธพจน์โดยเอื้อเฟื้อ กล่าวคือไม่ตั้งใจฟัง ทรงจำ @และนำมาปฏิบัติ ผลจึงไม่เกิดแก่ผู้นั้น (ขุ.ธ.อ. ๒/๔๔-๔๕) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๓๒๓-๓๒๔/๓๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๔. ปุปผวรรค ๑๑. โคธิกเถรวัตถุ

หรือกลิ่นกระลำพักก็ลอยไปทวนลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ลอยไปทวนลมได้ เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ๑- [๕๕] กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นหอมเหล่านี้ คือ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกอุบล และกลิ่นดอกมะลิ
๑๐. มหากัสสปเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๕๖] กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นจันทน์นี้ หอมเพียงเล็กน้อย แต่กลิ่นของท่านผู้มีศีล หอมมากที่สุด หอมฟุ้งไปทั่วทั้งเทวโลกและมนุษยโลก
๑๑. โคธิกเถรวัตถุ
เรื่องพระโคธิกเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๕๗] มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นปกติ ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ @เชิงอรรถ : @ สัตบุรุษย่อมมีกลิ่นเกียรติคุณคือศีลแผ่ขจรไปทั่วทุกทิศ (ขุ.ธ.อ. ๓/๗๙-๘๐) @และดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๐/๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๕. พาลวรรค ๑. อัญญตรปุริสวัตถุ

๑๒. ครหทินนวัตถุ
เรื่องนายครหทินน์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นายครหทินน์ และนายสิริคุตต์ ดังนี้) [๕๘] ในกองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่ ยังมีดอกบัวมีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด [๕๙] ในหมู่ปุถุชนผู้มืดมนซึ่งเปรียบได้กับกองขยะ ก็ยังมีสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรืองอยู่ด้วยปัญญา ฉันนั้น
ปุปผวรรคที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๐-๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=395&Z=433                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=14&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=20&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=14&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=20&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i014-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i014-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.04.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.04.budd.html https://suttacentral.net/dhp44-59/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp44-59/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp44-59/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :