บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. สุลภสูตร๑- ว่าด้วยปัจจัยที่หาได้ง่าย [๑๐๑] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้ มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร(ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๒. บรรดาโภชนะ ปิณฑิยาโลปโภชนะ(โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วยกำลัง ปลีแข้ง) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๓. บรรดาเสนาสนะ รุกขมูลเสนาสนะ(เสนาสนะคือโคนไม้) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๔. บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช(ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ปัจจัย ๔ อย่างนี้แล มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ @เชิงอรรถ : @๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗/๔๒-๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]
๓. อาสวักขยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษนี้ เราจึงกล่าวว่า เป็นองค์ประกอบแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ๑- อย่างหนึ่งของภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ (และยารักษาโรค) และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แลสุลภสูตรที่ ๒ จบ ๓. อาสวักขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ [๑๐๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้เห็น อยู่ หากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ไม่ @เชิงอรรถ : @๑ คุณเครื่องความเป็นสมณะ หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ สมถะ วิปัสสนา หรืออริยมรรค เมื่อว่า @โดยย่อมี ๒ ประการ คือ (๑) คุณเครื่องภายนอก ได้แก่ ธรรมเครื่องอาศัยของสัตบุรุษและการฟัง @สัทธรรม (๒) คุณเครื่องภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) และธัมมานุธัมมปฏิบัติ @(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) คุณเครื่องความเป็นสมณะนั้น มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้ คือ @ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร เป็นต้น @(ขุ.อิติ.อ. ๑๐๑/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๗๘-๔๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=216 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6550&Z=6565 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=281 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=281&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=8143 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=281&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=8143 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.100-112.than.html#iti-101 https://suttacentral.net/iti101/en/ireland https://suttacentral.net/iti101/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]