![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
![]() |
![]() |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๕. สุขวรรค ๒. มารวัตถุ
๑๕. สุขวรรค หมวดว่าด้วยความสุข ๑. ญาติกลหวูปสมนวัตถุ เรื่องการระงับความทะเลาะของหมู่พระญาติ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระญาติฝ่ายศากยะและโกลิยะ ที่ทะเลาะ กันเพราะแย่งน้ำทำนา ดังนี้) [๑๙๗] ในหมู่มนุษย์ผู้มีเวร เราเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ผู้มีเวร เราอยู่อย่างไม่มีเวร [๑๙๘] ในหมู่มนุษย์ผู้เดือดร้อน๑- เราเป็นผู้ไม่เดือดร้อน อยู่เป็นสุขจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ผู้เดือดร้อน เราอยู่อย่างไม่เดือดร้อน [๑๙๙] ในหมู่มนุษย์ผู้ขวนขวาย๒- เราเป็นผู้ไม่ขวนขวาย อยู่เป็นสุขจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ผู้ขวนขวาย เราอยู่อย่างไม่ขวนขวาย๒. มารวัตถุ เรื่องมาร (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่มารผู้มีบาป ดังนี้) [๒๐๐] เราไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๓- อยู่เป็นสุขจริงหนอ เรามีปีติเป็นภักษา ดุจทวยเทพชั้นอาภัสระ ฉะนั้น๔- @เชิงอรรถ : @๑ ผู้เดือดร้อน หมายถึงผู้เดือดร้อนเพราะกิเลส (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๑) @๒ ผู้ขวนขวาย หมายถึงผู้มุ่งหากามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๑) @๓ กิเลสเครื่องกังวล (กิญจนะ) หมายถึงราคะ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๓) @๔ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๕๔/๑๙๕-๑๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๕. สุขวรรค ๕. อัญญตรอุปาสกวัตถุ
๓. โกสลรัญโญปราชยวัตถุ เรื่องความพ่ายแพ้ของพระเจ้าโกศล (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๐๑] ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข๑-๔. อัญญตรกุลทาริกาวัตถุ เรื่องสาวน้อยในตระกูลหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่สามีของสาวน้อยในตระกูลหนึ่ง ดังนี้) [๒๐๒] ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์เสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุข(อื่น)ยิ่งกว่าความสงบ๒- ไม่มี๕. อัญญตรอุปาสกวัตถุ เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๐๓] ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง๓- สังขารทั้งหลาย๔- เป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตรู้เรื่องนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๒๕/๑๔๘ @๒ ความสงบ (สันติ) ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๖) @๓ ความหิว ที่เรียกว่าเป็นโรคอย่างยิ่ง เพราะจะต้องเยียวยารักษาอยู่ตลอดเวลา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๙) @๔ สังขารทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๕. สุขวรรค ๘. สักกวัตถุ
๖. ปเสนทิโกสลวัตถุ เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ดังนี้) [๒๐๔] ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง๗. ติสสเถรวัตถุ เรื่องพระติสสเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระติสสเถระ ดังนี้) [๒๐๕] บุคคลดื่มปวิเวกรส๑- ลิ้มรสแห่งความสงบ๒- และได้ลิ้มรสแห่งปีติในธรรมแล้ว เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป๓-๘. สักกวัตถุ เรื่องท้าวสักกะ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๐๖] การพบเห็นพระอริยะทั้งหลาย เป็นการดี การอยู่ร่วมกับพระอริยะ ก่อให้เกิดสุขทุกเมื่อ เพราะการไม่พบเห็นคนพาล บุคคลพึงอยู่เป็นสุขเนืองนิตย์ @เชิงอรรถ : @๑ ปวิเวกรส หมายถึงเอกีภาวสุข(สุขที่เกิดจากความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว) (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๔) @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @๓ ในคาถานี้ ตรัสหมายเอาคุณสมบัติของพระขีณาสพผู้ดื่มรสแห่งปีติที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจโลกุตตรธรรม ๙ ประการ @(ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๖. ปิยวรรค ๑. ตโยชนปัพพชิตวัตถุ
[๒๐๗] เพราะผู้คบค้าสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นทุกข์ตลอดเวลา เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู การอยู่ร่วมกับนักปราชญ์มีแต่ความสุข เหมือนอยู่ในหมู่ญาติ [๒๐๘] เพราะฉะนั้นแล บุคคลควรคบผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกติเอาธุระ มีวัตร๑- เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือนดวงจันทร์โคจรไปตามทางของดาวนักษัตร ฉะนั้นสุขวรรคที่ ๑๕ จบ ๑๖. ปิยวรรค หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๑. ตโยชนปัพพชิตวัตถุ เรื่องบรรพชิต ๓ รูป (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บรรพชิต ๓ รูป ดังนี้) [๒๐๙] บุคคลทำตัวให้หมกมุ่นในกิจที่ไม่ควรหมกมุ่น๒- และไม่หมกมุ่นในกิจที่ควรหมกมุ่น ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์๓- ติดอยู่ในปิยารมณ์๔- ทะเยอทะยานตามบุคคลผู้ปฏิบัติตนดี @เชิงอรรถ : @๑ มีวัตร หมายถึงมีศีลวัตร และธุดงควัตร ๑๓ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๗) @๒ กิจที่ไม่ควรหมกมุ่น หมายถึงการเสพอโคจร ๖ อย่าง มีหญิงแพศยาเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @๓ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @๔ ปิยารมณ์(อารมณ์ที่น่ารัก) หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๙๔-๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=24 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=799&Z=829 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=25 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=25&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=2392 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=25&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=2392 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i025-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i025-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.15.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.15.budd.html https://suttacentral.net/dhp197-208/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp197-208/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp197-208/en/sujato
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]