ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๔.โปสาลมาณวกปัญหา๒-
ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ
[๑๑๑๙] (โปสาลมาณพทูลถามดังนี้) พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว ทรงแสดงอดีตธรรม ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ วิญญาณ หมายถึงอภิสังขารวิญญาณ (วิญญาณที่เกิดพร้อมกับอภิสังขาร) (ขุ.สุ.อ. ๒/๑๑๑๘/๔๕๐) @ ดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๗-๑๔๐/๓๒-๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๑๔. โปสาลมาณวกปัญหา

[๑๑๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา๑- ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่าไม่มีอะไร บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร [๑๑๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ) ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติ๒- ทั้งหมด รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย [๑๑๒๒] บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร๓- ว่า เป็นเหตุเกิด แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ รู้อรูปราคะว่า มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ ครั้นรู้กรรมอย่างนี้แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น ญาณนี้ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นญาณอันแท้จริง
โปสาลมาณวกปัญหาที่ ๑๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่มีรูปสัญญา หมายถึงผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๒/๒๘๗) @ วิญญาณัฏฐิติ คือ ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณัฏฐิติ ๔ และวิญญาณัฏฐิติ ๗ @(ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙-๒๙๐) @ กัมมาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ @กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึง ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ (ขุ.จู.อ. ๘๔/๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๗๐-๗๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=296              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11367&Z=11386                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=438              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=438&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=10147              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=438&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=10147                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i424-e.php#sutta15 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.14.than.html https://suttacentral.net/snp5.15/en/mills https://suttacentral.net/snp5.15/en/anandajoti https://suttacentral.net/snp5.15/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :