ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. ชฏิลสูตร
ว่าด้วยพวกชฎิล
[๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คยาสีสบรรพต ใกล้หมู่บ้านคยา สมัยนั้น เป็นฤดูหนาว มีหิมะตก ๘ วัน ในช่วงกลางคืนอากาศหนาวเหน็บ ชฎิลจำนวนมาก ผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง ทั้งผุดขึ้นและดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้าง ที่แม่น้ำคยาด้วยคิดว่า “ด้วยวิธีนี้จะบริสุทธิ์” พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชฎิลจำนวนมากผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง ทั้งผุดขึ้นและดำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้างที่แม่น้ำคยาด้วยคิดว่า “ด้วยวิธีนี้จะ บริสุทธิ์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงความเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ (ขุ.อุ.อ. ๘/๗๗) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๑๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

๑๐. พาหิยสูตร

พุทธอุทาน๑-
บุคคลจะเป็นผู้สะอาดเพราะน้ำ ที่คนจำนวนมากพากันไปอาบก็หาไม่ ผู้ใดมีสัจจะ๒- และธรรม๓- ผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้สะอาด และผู้นั้นชื่อว่า เป็นพราหมณ์
ชฏิลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยเถระ
[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษชื่อพาหิยะ ทารุจีริยะ๔- อาศัยอยู่ ณ ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งทะเล มีคนจำนวนมากพากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้น เมื่อพาหิยะ ทารุจีริยะอยู่ในที่ลับหลีกเร้นอยู่๕- เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เราเป็น คนหนึ่งในบรรดาคนในโลกที่เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค” @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงว่าความสะอาดเพราะน้ำมิใช่ทางแห่งความบริสุทธิ์ของสัตว์ และแสดงว่า @ธรรมทั้งหลายมีสัจจะเป็นต้นเท่านั้นที่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ที่แท้จริงของสัตว์ (ขุ.อุ.อ. ๙/๗๙) @ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ และวิรัติสัจจะ (ขุ.อุ.อ. ๙/๘๐) @ ธรรม หมายถึงอริยมรรคและอริยผล (ขุ.อุ.อ. ๙/๘๐) @ ที่ชื่อว่า พาหิยะ เพราะเกิดในแคว้นพาหิยะ ที่ชื่อว่า ทารุจีริยะ เพราะเป็นผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้ พาหิยะ @ทารุจีริยะนี้เคยตั้งความปรารถนาว่าขอให้ตรัสรู้เร็วพลัน ในศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า @(ขุ.อุ.อ. ๑๐/๘๑-๘๒) @ หลีกเร้นอยู่ หมายถึงการอยู่ผู้เดียว การอยู่โดยเพ่งพินิจธรรม หรืออยู่ด้วยผลสมาบัติ อีกนัยหนึ่ง @หมายถึงการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔, สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๐, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖-๑๐๗) แต่ในที่นี้เป็นเพียงกิริยาเลียนแบบด้วยประสงค์จะให้เขายกย่องว่าเป็นพระ @อรหันต์ (ขุ.อุ.อ. ๑๐/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1591&Z=1606                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=46              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=46&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=1732              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=46&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=1732                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.1.09.than.html https://suttacentral.net/ud1.9/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud1.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :