บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]
๑. มุจจลินทสูตร
๒. มุจจลินทวรรค หมวดว่าด้วยพญานาคมุจลินท์ ๑. มุจจลินทสูตร ว่าด้วยพญานาคมุจลินท์ [๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นมุจลินท์๑- ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน สมัยนั้น ได้บังเกิดเมฆใหญ่ขึ้นในสมัยมิใช่ฤดูกาล เป็นฝนเจือลมหนาวตกพรำ ตลอด ๗ วัน ลำดับนั้น พญานาคมุจลินท์ได้ออกจากที่อยู่ของตน ไปโอบรอบ พระวรกายของพระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเหนือ พระเศียรด้วยหวังว่า ความหนาว อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ความร้อน อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น พญานาคมุจลินท์ รู้ว่าฝนหาย ปลอดเมฆแล้ว จึงคลายขนดออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงร่างของตนเป็นมาณพ ยืนประนมมือถวายอภิวาทอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @๑ มุจลินท์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิจุละ คือ ต้นจิกนา(นีปะ) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า The Tree Barringtonai @Acutangula ต้นมุจลินท์นี้เป็นเจ้าแห่งไม้ในป่า (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๘๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]
๒. ราชสูตร
พุทธอุทาน๑- วิเวก๒- เป็นความสุขของผู้สันโดษ๓- ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้๔- เป็นสุขในโลก ความกำจัดอัสมิมานะได้๕- เป็นสุขอย่างยิ่ง๖-มุจจลินทสูตรที่ ๑ จบ ๒. ราชสูตร ว่าด้วยอานุภาพของพระราชา [๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตหลังจาก ฉันอาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุมพร้อมกันในอุปัฏฐานศาลา๗- ได้สนทนาอันตรากถา๘- ขึ้นว่า ท่านทั้งหลาย บรรดาพระราชา ๒ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ @เชิงอรรถ :- @๑ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงอานุภาพแห่งวิเวกสุข (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) @๒ วิเวก ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) @๓ ผู้สันโดษ ในที่นี้หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ @อนาคามิมัคคญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕) @๔ ความล่วงกามทั้งหลายได้ หมายถึงอนาคามิมรรค (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๖) @๕ ความกำจัดอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตต์ (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๖) @๖ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, อภิ.ก. ๓๗/๓๓๘/๑๘๓ @๗ อุปัฏฐานศาลา แปลว่าศาลาเป็นที่บำรุงหรือหอฉัน ในที่นี้หมายถึง มณฑปแสดงธรรม คือ เมื่อพระผู้มี @พระภาคเสด็จมาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่มณฑปนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้ถวายอุปัฏฐากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ @จึงเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา ใช้เป็นที่ประชุมสนทนาธรรม วินิจฉัยวินัย และแสดงธรรมของภิกษุทั้งหลาย @(ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๐๖) @๘ อันตรากถา หมายถึงการพูดคุยนอกเรื่องการเจริญกัมมัฏฐานเป็นต้น หรือพูดคุยระหว่างรอการฟังธรรม @(ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=46 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1699&Z=1721 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=51 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=51&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=2323 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=51&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=2323 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.01.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.01.irel.html https://suttacentral.net/ud2.1/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.1/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]