ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๗. เอกปุตตกสูตร

๗. เอกปุตตกสูตร
ว่าด้วยอุบาสกมีบุตรน้อยคนเดียว
[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรน้อยคนเดียวของอุบาสกคนหนึ่ง ผู้น่ารัก น่าพอใจ ได้ตายจากไป ครั้งนั้น อุบาสกจำนวนมากมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับในเวลาเที่ยงวัน ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับอุบาสกเหล่านั้นดังนี้ว่า “อุบาสกทั้งหลาย มีเรื่อง อะไรหรือ ท่านทั้งหลายมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้ามาที่นี่ในเวลาเที่ยงวัน” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อุบาสกนั้นจึงกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี พระภาค บุตรน้อยคนเดียวของข้าพระองค์ ผู้น่ารัก น่าพอใจ ได้ตายจากไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงมีผ้าเปียก ผมเปียก เข้ามาที่นี่ในเวลาเที่ยงวัน พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก พากันเพลิดเพลินยึดติดในรูปที่น่ารัก จึงระทมทุกข์ เสื่อมหมดสิ้น๑- ตกอยู่ในอำนาจของมัจจุราช @เชิงอรรถ : @ เสื่อมหมดสิ้น หมายถึงเสื่อมจากสมบัติ (ขุ.อุ.อ. ๑๗/๑๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๘. สุปปาวาสาสูตร

แต่คนเหล่าใด ไม่ประมาท ทั้งกลางวันและกลางคืน ละรูปที่น่ารักได้ คนเหล่านั้นย่อมขุดขึ้นได้ซึ่งมูลเหตุแห่งทุกข์๑- ที่เป็นเหยื่อของมัจจุราช และที่ล่วงพ้นได้ยาก
เอกปุตตกสูตรที่ ๗ จบ
๘. สุปปวาสาสูตร
ว่าด้วยพระนางสุปปวาสา
[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ากุณฑิฏฐานวัน ใกล้หมู่บ้าน กุณฑิยา สมัยนั้น พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์ หลง๒- อยู่ถึง ๗ วัน พระนางได้รับทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน แต่ทรง อดกลั้นไว้ด้วยความตรึก ๓ ประการ คือ (๑) พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๒) พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๓) พระนิพพานซึ่งไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีอย่างแท้จริง ครั้นต่อมา พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ได้ทูลเชิญพระราชสวามีมาตรัสว่า “ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์เสด็จมานี่เถิด พระองค์จงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า @เชิงอรรถ : @ มูลเหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึงตัณหาพร้อมทั้งอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๑๗/๑๒๖) @ ครรภ์หลง หมายถึงอาการที่ทารกขวางช่องคลอด ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในครรภ์ เพราะลมกรรมชวาต @พัดหมุนทำให้ทารกพลิกหมุนกลับไปกลับมา ไม่สามารถคลอดได้ตามปกติ (ขุ.อุ.อ. ๑๘/๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1848&Z=1869                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=58              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=58&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=2767              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=58&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=2767                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.07.than.html https://suttacentral.net/ud2.7/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :