ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๘. วักกลิเถรคาถา
ภาษิตของพระวักกลิเถระ
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า) [๓๕๐] เธอ เมื่ออยู่ในป่าใหญ่เป็นสถานที่ลำบาก หาปัจจัยได้ยาก ถูกโรคลมรบกวน จักทำอย่างไรละภิกษุ พระวักกลิเถระ (ได้กราบทูลว่า) [๓๕๑] ข้าพระองค์จักแผ่ปีติสุขอันไพบูลย์ไปทั่วร่างกาย ครอบงำแม้ปัจจัยที่เศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่ [๓๕๒] จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต]

๙. วิชิตเสนเถรคาถา

[๓๕๓] ข้าพระองค์พอได้เห็นเพื่อนพรหมจารี๑- ทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน จึงจักอยู่ในป่าใหญ่ [๓๕๔] เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ฝึกพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น จักเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ในป่าใหญ่
๙. วิชิตเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวิชิตเสนเถระ
(พระวิชิตเสนเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า) [๓๕๕] เราจะคล้องจิตของเจ้าไว้ เหมือนควาญช้างกักช้างไว้ที่ประตูเมือง เราจะไม่ชักนำเจ้าซึ่งเป็นข่ายแห่งกามเกิดในร่างกาย ให้เป็นไปในกรรมชั่ว [๓๕๖] เจ้าถูกเราคล้องไว้จะไปไม่ได้ เหมือนช้างไม่ได้ช่องประตู หมดทางไป แน่ะจิตผู้ชั่วช้า ก็เจ้าผู้ดื้อด้าน จะพอใจในกรรมชั่ว เที่ยวไปเสมอๆ มิได้ [๓๕๗] ควาญช้างผู้มีกำลังเข้มแข็ง ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก ทั้งไม่ต้องการ(จะให้ฝึก)ด้วย ให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันใด เราจะบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์, ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุนเป็นต้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๓๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๓๙๘-๓๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=342              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=6418&Z=6431                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=342              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=342&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=1459              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=342&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=1459                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.05.08.than.html https://suttacentral.net/thag5.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :