บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๖. วิหารวิมาน ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร (พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า) [๗๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๘๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน]
๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๐] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ [๗๓๑] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ [๗๓๒] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า [๗๓๓] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า [๗๓๔] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมชื่นใจ ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก [๗๓๕] เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์ เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า (เทพธิดานั้นตอบว่า) [๗๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นอาคาร และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์ เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น [๗๓๗] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา ซึ่งดิฉันได้มา เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ ในรัศมี ๑๖ โยชน์ด้วยบุญฤทธิ์ของดิฉัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๘๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน]
๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๘] วิมานเรือนยอดของดิฉัน จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม ส่องสว่างรุ่งเรือง ตลอดรัศมี ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ [๗๓๙] อนึ่ง ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง [๗๔๐] ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ [๗๔๑] มีรุกขชาตินานาชนิด คือต้นหว้า ต้นขนุน ต้นตาล ต้นมะพร้าว และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ ภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูกไว้ [๗๔๒] วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่างๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ [๗๔๓] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ เช่นนี้ บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน (ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้ (พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า) [๗๔๔] เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า นางเกิด ณ ที่ไหน (เทพธิดานั้นตอบว่า) [๗๔๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ รู้แจ้งธรรม ได้ถวายทาน เกิดแล้วในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๘๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน]
๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๔๖] เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใครๆ ไม่พึงคิด ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง [๗๔๗] ถ้าอย่างนั้น ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่นๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก พวกท่านก็ได้แล้ว [๗๔๘] พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑- ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ) ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์ ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด [๗๔๙] ทักขิไณยบุคคล ๔ คู่ ๘ ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว เป็นสาวกของพระสุคต ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก [๗๕๐] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔ และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ นี้ จัดเป็นพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา [๗๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่ ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก [๗๕๒] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์ หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง @เชิงอรรถ : @๑ อริยมรรค (ขุ.วิ.อ. ๗๔๘/๒๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๘๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน]
๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
[๗๕๓] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว บูชาสักการะด้วยดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว [๗๕๔] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้ ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้วิหารวิมานที่ ๖ จบ ภาณวารที่ ๒ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๘๔-๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=44 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=1507&Z=1579 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=44 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=44&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=4483 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=44&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=4483 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vv44/en/kiribathgoda
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]