ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)

๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
ว่าด้วยสิริกับกาฬกัณณี
(เศรษฐีโพธิสัตว์สนทนากับกาฬกัณณีเทพธิดาว่า) [๔๐] ใครหนอมีผิวพรรณดำ ทั้งไม่น่ารัก ไม่น่าดู เธอเป็นใคร เป็นลูกสาวของใคร ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร (กาฬกัณณีเทพธิดากล่าวว่า) [๔๑] ดิฉันเป็นลูกสาวของท้าววิรูปักขมหาราช เป็นคนโหดร้าย มีผิวดำ ไร้ปัญญา เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่ากาฬกัณณี ดิฉันขอท่านจงให้โอกาส ดิฉันขออาศัยอยู่ในสำนักของท่าน (เศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๔๒] เธอตกลงปลงใจในชายผู้มีปกติเช่นไร มีความประพฤติเช่นไร แม่กาฬี ฉันถามแล้ว เธอจงตอบ ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร (กาฬกัณณีเทพธิดาได้บอกคุณของตนว่า) [๔๓] ชายใดมักลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ แข่งดี ริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด ทำทรัพย์ที่ได้มาแล้วให้พินาศไป ดิฉันรักใคร่ชายนั้น (กาฬกัณณีเทพธิดากล่าวต่อไปว่า) [๔๔] ชายใดมักโกรธ ผูกโกรธ พูดส่อเสียด มักทำลายมิตรภาพ มีวาจาเสียดแทง พูดวาจาหยาบคาย ดิฉันรักใคร่ชายนั้นยิ่งกว่าชายคนแรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)

[๔๕] ชายที่ไม่รู้จักประโยชน์ของตนว่า งานนี้ควรทำวันนี้ งานนี้ควรทำพรุ่งนี้ ถูกสั่งสอนก็พาลโกรธ ซ้ำยังดูหมิ่นคนที่ดีกว่าตัว [๔๖] ชายใดมัวเมาด้วยการเล่นเป็นประจำ ทั้งยังกำจัดมิตรทั้งหมดไปเสีย ดิฉันรักใคร่ชายนั้น จะมีความสุขกับเขา (พระโพธิสัตว์ติเตียนกาฬกัณณีเทพธิดานั้นว่า) [๔๗] แม่กาฬี เธอจงไปจากที่นี้เสียเถิด เรื่องเช่นนี้ไม่มีในพวกเรา เธอจงไปยังชนบท นิคม และราชธานีอื่นๆ เถิด (กาฬกัณณีเทพธิดาได้ฟังดังนั้นไม่พอใจ จึงกล่าวว่า) [๔๘] เรื่องนั้นแม้ดิฉันก็ทราบดีว่า เรื่องเช่นนี้ไม่มีอยู่ในพวกท่าน แต่คนโง่ทั้งหลายที่รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นจำนวนมาก ก็ยังมีอยู่ในโลก ส่วนดิฉันและเทพพี่ชายของดิฉันทั้ง ๒ คน ช่วยกันผลาญทรัพย์นั้นจนหมดสิ้น (พระโพธิสัตว์เห็นสิริเทพธิดา จึงกล่าวว่า) [๔๙] ใครหนอมีผิวพรรณทิพย์ ยืนเรียบร้อยอยู่บนแผ่นดิน เธอเป็นใคร เป็นลูกสาวของใคร ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร (สิริเทพธิดาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า) [๕๐] ดิฉันเป็นลูกสาวของท้าวธตรัฏฐมหาราชผู้มีสิริ ดิฉันชื่อสิริลักษมี เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า เป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ดิฉันขอท่านจงให้โอกาส ดิฉันขออาศัยอยู่ในสำนักของท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)

(เศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๕๑] เธอตกลงปลงใจในชายผู้มีปกติวิเช่นไร มีความประพฤติเช่นไร แม่ลักษมี ฉันถามแล้ว เธอจงตอบ ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร (สิริเทพธิดากล่าวว่า) [๕๒] ชายใดชนะอันตรายทั้งปวงได้ คือ ความหนาว ความร้อน ลม แดด เหลือบ ยุง สัตว์เลื้อยคลาน ความหิว และความกระหายได้ ทำการงานทุกอย่างติดต่อตลอดวันตลอดคืน ไม่ทำประโยชน์ที่เป็นไปตามกาลให้เสื่อมเสียไปด้วย ดิฉันพอใจชายนั้นและจะตกลงปลงใจกับเขา [๕๓] ชายใดไม่มักโกรธ เป็นกัลยาณมิตร เสียสละ สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่โอ้อวด ซื่อตรง สงเคราะห์ มีวาจาไพเราะอ่อนหวาน ถึงจะเป็นใหญ่ก็ถ่อมตน ดิฉันจะเป็นหญิงมีสิริอันไพบูลย์ในชายนั้น เหมือนคลื่นที่ปรากฏแก่ผู้มองดูท้องทะเล [๕๔] อีกอย่างหนึ่ง ชายใดสงเคราะห์บุคคล ทั้งที่เป็นมิตรหรือศัตรู ทั้งชั้นสูง เสมอกัน หรือต่ำกว่า ทั้งที่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ ชายใดไม่พูดจาหยาบคายไม่ว่าในกาลไหนๆ ดิฉันจะเป็นของชายนั้นถึงแม้จะตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๘. กุกกุฏชาดก (๓๘๓)

[๕๕] บุคคลใดไร้ปัญญา ได้สิริที่น่าใคร่แล้ว ลืมคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาคุณความดีที่ได้กล่าวแล้วเหล่านั้น ดิฉันเว้นบุคคลนั้นซึ่งมีสภาพร้อนรน ประพฤติไม่เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนคนที่มีนิสัยรักความสะอาดเว้นห่างไกลหลุมคูถ [๕๖] บุคคลย่อมสร้างความมีโชคด้วยตนเอง ย่อมสร้างความไม่มีโชคด้วยตนเอง คนอื่นจะทำความมีโชคและความไม่มีโชคให้คนอื่นหาได้ไม่
สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๓๕-๒๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=382              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3952&Z=4005                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=869              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=869&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=772              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=869&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=772                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja382/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :