ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส๑-
อธิบายกลหวิวาทสูตร
ว่าด้วยการทะเลาะวิวาท
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายกลหวิวาทสูตร ดังต่อไปนี้ [๙๗] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากไหน กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น คำว่า การทะเลาะ ในคำว่า การทะเลาะ การวิวาท ... มีมาจากไหน อธิบายว่า การทะเลาะมีอาการอย่างเดียวกันกับการวิวาท ได้แก่ การทะเลาะ ก็คือ การวิวาท การวิวาท ก็คือการทะเลาะ อีกนัยหนึ่ง ว่าโดยการทะเลาะที่มีอาการต่างจากการวิวาท การวิวาทที่เป็น ส่วนเบื้องต้นแห่งการทะเลาะ เรียกว่า การวิวาท กล่าวคือ พระราชาทรงวิวาทกับ พระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดี วิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาท กับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาว น้องสาววิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาว น้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ นี้ชื่อว่าการวิวาท การทะเลาะ เป็นอย่างไร คือ คนครองเรือนใฝ่หาเรื่องกัน ก็ทำการทะเลาะกันด้วยกายวาจา บรรพชิต ต้องอาบัติก็ทำการทะเลาะกันด้วยกายวาจา นี้ชื่อว่าการทะเลาะ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๘๖๙-๘๘๔/๕๐๓-๕๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า การทะเลาะ การวิวาท... มีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศมูล เหตุ ต้นเหตุ การ เกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย เหตุเกิดว่า การทะเลาะ และการ วิวาท มีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า การทะเลาะ การวิวาท ... มีมาจากไหน
ว่าด้วยความคร่ำครวญ
คำว่า ความคร่ำครวญ ในคำว่า ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ อธิบายว่า ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูก ความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายนอกจากที่ กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
ว่าด้วยความเศร้าโศก
คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความเร่าร้อนภายใน ความ เร่าร้อนมากภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบ บ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติ กระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุ แห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว ความที่จิตเจ็บร้อน (ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ คำว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เกิดความถือตัว เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง เพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง เพราะเป็นผู้มีรูปงามบ้าง เพราะมีทรัพย์บ้าง เพราะการศึกษาบ้าง เพราะหน้าที่การงานบ้าง เพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง เพราะวิทยฐานะบ้าง เพราะความคงแก่เรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะสิ่งอื่น นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง คำว่า ความดูหมิ่น ได้แก่ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง... เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไปบอก คนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้แตกแยก หรือ สนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการแบ่งพวกแบ่ง เหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่งพวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ๑. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก ๒. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วยคิดว่า “เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้” บุคคล ย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้ พึงเป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และวาจาส่อเสียด คำว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรง ประกาศมูล เหตุ ต้นเหตุ การเกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย เหตุเกิดแห่งกิเลส ๘ จำพวกเหล่านี้ว่า กิเลส ๘ จำพวกเหล่านี้ คือ ๑. การทะเลาะ ๒. การวิวาท ๓. ความคร่ำครวญ ๔. ความเศร้าโศก ๕. ความตระหนี่ ๖. ความถือตัว ๗. ความดูหมิ่น ๘. วาจาส่อเสียด มีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น อธิบายว่า ขอเชิญพระองค์ โปรดตรัส คือ ขอโปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ประกาศ รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก เหตุนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากไหน กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น [๙๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่ มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น
ว่าด้วยการทะเลาะเป็นต้น มาจากสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ในคำว่า การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่... มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปราถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมก่อการทะเลาะกัน บ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

แย่งชิงไปแล้วย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะ แปรผันไป ย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมก่อการ ทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักแปรผันไปแล้ว ย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อมวิวาท กันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก แปรผันไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อม คร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก แปรผันไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อ สิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อม เศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก แปรผันไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลาย ย่อมรักษา ปกป้อง ถือครอง ยึดถือว่าเป็นของเรา ประพฤติ ตระหนี่อยู่ซึ่งสิ่งเป็นที่รัก คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด อธิบายว่า ชนทั้งหลาย เกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รักว่า “เราเป็นผู้มีปกติได้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจ” ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่ง เป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รักว่า “เราเป็นผู้มีปกติ ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจ” ส่วนชนอื่นเหล่านี้ หามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจไม่ ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ คำว่า วาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าววาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้...อย่างนี้ ชื่อว่านำวาจา ส่อเสียดเข้าไป โดยมุ่งหวังให้เขาแตกกัน รวมความว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และวาจาส่อเสียด คำว่า การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่ ได้แก่ กิเลส ๗ ชนิด เหล่านี้ คือ ๑. การทะเลาะ ๒. การวิวาท ๓. ความคร่ำครวญ ๔. ความเศร้าโศก ๕. ความถือตัว ๖. ความดูหมิ่น ๗. วาจาส่อเสียด ประกอบ คือ เกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง สืบเนื่องในความตระหนี่ รวมความว่า การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่ คำว่า เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น อธิบายว่า เมื่อ การวิวาท เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำ วาจาส่อเสียดเข้าไป คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟัง จากข้างโน้นแล้วไปบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้ แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า วาจาส่อเสียด อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก (๒) ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักว่า “เราจัก เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้” บุคคลย่อม นำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกันว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้ พึงเป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบากไม่สบาย” บุคคลย่อมนำ วาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า เมื่อการ วิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ตอบว่า การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และวาจาส่อเสียด มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่ มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น [๙๙] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

สิ่งเป็นที่รักว่า สิ่งเป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลก มีอะไรเป็นต้นเหตุ คำว่า และชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึง มูล...เหตุเกิดแห่งความหวังและความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวังมี อะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร เป็นแดนเกิด รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบายว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ เป็นเกาะ เป็นที่ ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวัง เป็นที่ไปในเบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนใน ภพหน้า ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ [๑๐๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ คำว่า ความพอใจ ในคำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความ เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อ ใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจ ความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบ คือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วย อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง ความพอใจ ๕ อย่าง คือ ๑. ความพอใจในการแสวงหา ๒. ความพอใจในการได้ ๓. ความพอใจในการบริโภค ๔. ความพอใจในการสะสม ๕. ความพอใจในการสละ ความพอใจในการแสวงหา เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ก็แสวงหารูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการแสวงหา ความพอใจในการได้ เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ความพอใจในการบริโภค เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภค รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการบริโภค ความพอใจในการสะสม เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการ สะสมทรัพย์ ด้วยหวังว่า “จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตราย” นี้ชื่อว่าความพอใจ ในการสะสม ความพอใจในการสละ เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละ ทรัพย์ให้แก่พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พลเดินเท้า ด้วยคิดว่า “คนเหล่านี้ จักรักษา ปกป้อง ห้อมล้อมเรา” นี้ชื่อว่าความพอใจในการสละ
ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร ... สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก... สังขารเหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก๑- คำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า สิ่งเป็นที่รัก มีความพอใจเป็นต้นเหตุ คือ มีความพอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๙๘/๓๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก...ในอายตนโลก๑- รวมความว่า และชนเหล่า ใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ว่าด้วยความหวัง
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้นมีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความหวัง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- คำว่า ความสำเร็จหวัง อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูปก็ได้รูป เป็นผู้สมหวังในรูป เมื่อแสวงหาเสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... อารัญญิกังค- ธุดงค์ ... ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ... ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ... เตจีวริกังคธุดงค์ ... สปทาน- จาริกังคธุดงค์ ... ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ... เนสัชชิกังคธุดงค์ ... ยถาสันถติกังคธุดงค์ ... ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เมื่อแสวงหา เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นผู้ สมหวังในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมจริงดังที่พระกาฬุทายีกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคว่า) ชาวนาไถนาก็ด้วยหวังผล หว่านพืชก็ด้วยหวังผล พวกพ่อค้าเที่ยวหาทรัพย์เดินเรือไปสู่สมุทรก็ด้วยหวังผล ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยความหวังอันใด ขอความหวังอันนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด๓- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ @ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๕๓๐/๔๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ความสำเร็จตามความหวัง ตรัสเรียกว่า ความสำเร็จหวัง คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น มีความพอใจนี้เป็น ต้นเหตุ อธิบายว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ มีความ พอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบายว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ [๑๐๑] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน และการตัดสินใจมีมาจากไหน อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัยมีมาจากอะไร และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาจากอะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยฉันทะเป็นต้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งฉันทะว่า ฉันทะมีต้นเหตุมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิด ขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน คำว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูล สอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งการตัดสิน ใจว่า การตัดสินใจมีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความ สงสัย อธิบายว่า ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ ความลังเล ตรัสเรียกว่า ความสงสัย รวมความว่า ความโกรธ ความเป็นคน พูดเท็จ และความสงสัย คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว อธิบายว่า ธรรมเหล่าใด ดำเนินไปพร้อมกัน คือ เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบกัน เกิดคราวเดียวกัน ดับคราวเดียวกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์ อย่างเดียวกันกับความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ตรัส เรียกว่า ธรรมเหล่าใด อีกนัยหนึ่ง กิเลสเหล่าใดมีชาติเป็นอย่างอื่น ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลส เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมเหล่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า พระสมณะตรัสไว้แล้ว ได้แก่ พระสมณะ คือ ผู้มีบาปสงบแล้ว เป็น พราหมณ์ ผู้ลอยบาปธรรมแล้ว เป็นภิกษุผู้ตัดมูลแห่งกิเลสแล้ว ผู้พ้นแล้วจาก เครื่องผูกคืออกุศลมูลทุกอย่าง ตรัสไว้แล้ว คือ ทรงพูด บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้ว รวมความว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะ ตรัสไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน และการตัดสินใจมีมาจากไหน อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัยมีมาจากอะไร และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาจากอะไร [๑๐๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น ชนในโลกมองเห็นความเสื่อม และความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อมทำการตัดสินใจ คำว่า น่าดีใจ ในคำว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ ได้แก่ สุขเวทนา และสิ่งที่น่าปรารถนา คำว่า น่าเสียใจ ได้แก่ ทุกขเวทนา และสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา คำว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใด ได้แก่ พูดถึงสิ่งใด คือ กล่าวถึง บอกถึง แสดงถึง ชี้แจงถึงสิ่งใด รวมความว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ คำว่า ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น อธิบายว่า ฉันทะ ย่อมมี มีขึ้น คือ เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความน่าดีใจและน่าเสียใจ คือ อาศัยสุข และทุกข์ โสมนัสและโทมนัส สิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ความยินดีและ ความยินร้าย รวมความว่า ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป
คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูป ทั้งหลายแล้ว ได้แก่ มหาภูตรูป๑- ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป๒- ๔ ความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ความเจริญ ความเกิด ความเกิดขึ้น ความบังเกิด ความบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกไป ความทำลายไป ความเป็น ธรรมชาติไม่เที่ยง ความสูญหายไปแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย คำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมในรูปทั้งหลาย รวมความว่า มองเห็นความเสื่อมและ ความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว @เชิงอรรถ : @ มหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๕๒ @ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ หรือทับศัพท์บาลีว่า อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ @ก. ปสาทรูป ๕ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย @ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป ๕ รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ (๖) รูป (๗) เสียง (๘) กลิ่น @(๙) รส (๐) โผฏฐัพพะ (ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย) @ค. ภาวรูป ๒ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ (๑๐) อิตถิตตะ อิตถินทรีย์ ความเป็นหญิง (๑๑) ปุริสัตตะ ปุริสินทรีย์ @ความเป็นชาย @ง. หทัยรูป รูปคือหทัย (๑๒) หทัยวัตถุ ที่ตั้งแห่งใจ หัวใจ @จ. ชีวิตรูป ๑ รูปที่เป็นชีวิต (๑๓) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต @ฉ. อาหารรูป ๑ รูปคืออาหาร (๑๔) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว @ช. ปริจเฉทรูป ๑ รูปที่กำหนดเทศะ (๑๕) อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง @ญ. วิญญัติรูป ๒ รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย (๑๖) กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย @ด้วยกาย (๑๗) วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา @ฎ. วิการรูป ๕ รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ (๑๘) (รูปัสส) ลหุตา ความเบา (๑๙) (รูปัสส) @มุทุตา ความอ่อนสลวย (๒๐) (รูปัสส) กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน ใช้การได้ (และวิญญัติรูป ๒ @แต่ท่านไม่นับเพราะซ้ำกับข้อ ญ) @ฏ. ลักขณรูป ๔ รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด (๒๑) (รูปัสส) อุปจย ความก่อตัวหรือเติบโตขึ้น @(๒๒) (รูปัสส) สันตติ ความสืบต่อ (๒๓) (รูปัสส) ชรตา ความทรุดโทรม (๒๔) (รูปัสส) อนิจจตา @ความปรวนแปรแตกสลาย (อภิ.สํ. (แปล) ๓๔/๕๘๔-๙๘๔/๑๖๙-๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการตัดสินใจ
คำว่า ชนในโลก ... ย่อมทำการตัดสินใจ อธิบายว่า คำว่า การตัดสินใจ ได้แก่ การตัดสินใจ ๒ อย่าง คือ (๑) การตัดสินใจด้วย อำนาจตัณหา (๒) การตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิ ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ สำหรับคนบางคนในโลกนี้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความหมดสิ้นไป เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะ อุบายอะไรหนอ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา จึงไม่เกิดขึ้น และโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้น แล้ว จึงถึงความสิ้นไป” เขาก็มีความคิดต่อไปอย่างนี้ว่า “เมื่อเรามัวแต่ดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป เมื่อเรามัวแต่เที่ยวกลางคืน... เมื่อเรา มัวแต่เที่ยวดูมหรสพ... เมื่อเรามัวแต่อยู่ในความประมาทด้วยการเล่นการพนัน... เมื่อเรามัวแต่คบคนชั่วเป็นมิตร... เมื่อเรามัวแต่เกียจคร้าน โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็ ไม่เกิดขึ้น โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป” ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว จึงไม่ ประพฤติสิ่งที่เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ ๖ ประการ ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นทาง เจริญแห่งโภคทรัพย์๑- ๖ ประการ ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหาเป็น อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมดำเนินชีวิตด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม (เลี้ยงปศุสัตว์) ศาสตร์แห่งการยิงธนู การรับราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างนี้บ้าง ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ เมื่อตาเกิดขึ้น ก็เข้าใจว่า “ตัวของเราเกิดขึ้นแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ ๖ ประการ (๑) ไม่เป็นนักเลงหญิง (๒) ไม่เป็นนักเลงสุรา (๓) ไม่เป็นนักเลง @การพนัน (๔) มีมิตรดี (๕) มีสหายดี (๖) ใฝ่ใจในกัลยาณมิตร (องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕๕/๒๓๗-๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

เมื่อตาหายไปก็เข้าใจว่า “ตัวของเราหายไปแล้ว ตัวของเราไม่มีเสียแล้ว” ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิเป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้น ก็เข้าใจว่า “ตัวของเราเกิดขึ้นแล้ว” เมื่อโผฏฐัพพะหายไปก็เข้าใจว่า “ตัวของเราหายไปแล้ว ตัวของเราไม่มีเสียแล้ว” ชนย่อมทำ คือให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นซึ่งการตัดสินใจด้วย อำนาจทิฏฐิเป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า ชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ... มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... ในอายตนโลก รวมความว่า ชนในโลก ย่อมทำการตัดสินใจ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น ชนในโลกมองเห็นความเสื่อม และความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อมทำการตัดสินใจ [๑๐๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้วตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จและความสงสัย ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ... เห็นปานนี้ มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ ความลังเล ตรัสเรียกว่า ความสงสัย ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนาบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนาบ้าง ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนาบ้าง
ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ
ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ ความโกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา” ความโกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา” ความ โกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา” ความโกรธ ย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา” ความโกรธย่อมเกิด เพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักทำสิ่งที่ เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา” ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัย สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ เมื่อบุคคลหวาดระแวงว่าสิ่งที่น่าปรารถนาจะถูกแย่งชิงไป ก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนากำลังถูกแย่งชิงไปก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนาถูก แย่งชิงไปแล้ว ก็เกิดความโกรธ เมื่อบุคคลหวาดระแวงว่า สิ่งที่น่าปรารถนาจะแปรผันไป ก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนากำลังแปรผันไป ก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่า ปรารถนาแปรผันไปแล้ว ก็เกิดความโกรธ ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่า ปรารถนา เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยเหตุให้เกิดการกล่าวเท็จ
มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา ก็พูดเท็จทั้งที่รู้ เพื่อให้พ้นการจองจำนั้น ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือเชือก ... ถูกจองจำด้วยเครื่อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

จองจำคือโซ่ตรวน ... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือหวาย ... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือ เถาวัลย์ ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือคุก ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ การล้อมรั้ว ... ถูกจองจำไว้ภายในบ้าน นิคม เมือง หรือรัฐ ... หรือถูกจองจำไว้ภายใน ชนบท ก็พูดเท็จทั้งที่รู้ เพื่อให้พ้นการจองจำนั้น มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่ง ที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งรูปที่น่าพอใจ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งเสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะที่พอใจ ... เพราะเหตุแห่งจีวร ... เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ... เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุ แห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ด้วยคิดว่า “เราจัก พ้นจากโรคตา หรือไม่พ้นจากโรคตาหนอ เราจักพ้นจากโรคหู... จากโรคจมูก... จาก โรคลิ้น... จากโรคกาย... จากโรคเกี่ยวกับศีรษะ... จากโรคเกี่ยวกับหู... จากโรคเกี่ยว กับปาก... จากโรคเกี่ยวกับฟัน หรือไม่พ้นจากโรคเกี่ยวกับฟันหนอ” ความสงสัยย่อม เกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร คือ ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาด้วยคิดว่า “เราจักได้ รูปที่น่าพอใจ หรือไม่ได้รูปที่น่าพอใจหนอ เราจักได้เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารหนอ” ความ สงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จและความสงสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี อธิบายว่า เมื่อความดีใจและความเสียใจมีอยู่ คือเมื่อความสุขและความทุกข์ โสมนัส และโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ คือ ปรากฏอยู่ อันตนเข้าไปได้อยู่ ธรรมเหล่านี้ก็มีได้ รวมความว่า ธรรมแม้ เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า ญาณ๑- ชื่อว่า ทางแห่งญาณ อารมณ์แห่งญาณ ชื่อว่าทางแห่งญาณ ธรรมที่เกิดมีพร้อมกับญาณ @เชิงอรรถ : @ ญาณ ในที่นี้ หมายถึง ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ ความหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้ง @แต่ต้นจนถึงที่สุด @๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดรู้นามและรูป @๒. ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป @๓. สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ @๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ @๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายเห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปหมด @๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป @ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น @๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ @๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย @๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนา @ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น @๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออก @๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย @๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลม ได้แก่ การหยั่งรู้อริยสัจจ์ @๑๓. โคตรภูญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล @๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น @๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ @๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ @เหลืออยู่ และนิพพาน (ขุ.ป. ๓๑/๑-๖๕/๕-๗๘, วิสุทฺธิ. ๒/๖๖๒-๘๐๔/๒๕๐-๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ เปรียบเหมือนอริยมรรค๑- ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทว- มรรค๒- ชื่อว่าทางแห่งเทวะ พรหมมรรค๓- ชื่อว่าทางแห่งพรหม ฉันใด ญาณ ชื่อว่า ทางแห่งญาณ อารมณ์แห่งญาณ ชื่อว่าทางแห่งญาณ ธรรมที่เกิดมีพร้อมกับญาณ ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์ ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบทอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก สีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็น ความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรม ที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ... บรรลุจตุตถฌานอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา @เชิงอรรถ : @ มรรคมีองค์ ๘ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๑๘ @ เทวมรรค คือเทวธรรมนั่นเอง หมายถึงธรรมของเทวดา ได้แก่ (๑) หิริ (๒) โอตตัปปะ (๓) สุกกธรรม @แปลว่าธรรมฝ่ายขาว เป็นชื่อแห่ง หิริ และโอตัปปะ สุกกธรรมได้แก่ สุจริตในไตรทวาร (๑. กายสุจริต ๓ @ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๒. วจีสุจริต ๔ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ @ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๓. มโนสุจริต ๓ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ไม่มีจิตคิดพยาบาท มีความเห็นชอบ) @(ม.มู. ๑๒/๔๔๑/๓๙๐-๓๙๑, องฺ.ทุก. ๒๐/๘-๙/๕๑-๕๒, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๖/๒๑๖-๒๒๑) @ พรหมมรรค คือพรหมจรรย์นั่นเอง พรหมจรรย์คือจริยธรรมที่ประเสริฐ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ @ดูเชิงอรรถ ข้อ ๕/๑๘ และ ขุ.จู. ๓๐/๑๐/๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า บุคคล ผู้มีความสงสัย คือ เคลือบแคลง ลังเล มีความเข้าใจ ๒ ทิศ ๒ ทาง ไม่แน่ใจ พึงศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อบรรลุถึงญาณ เพื่อถูกต้อง ญาณ เพื่อทำญาณให้แจ้ง คือ สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึง ศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควร เจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือพึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า บุคคล ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ
ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทรงทราบ
คำว่า ทรงทราบแล้ว ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้ว ตรัสไว้ ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง แล้ว ตรัสสอน ตรัสไว้ คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ... เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี ... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ... ธรรม เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ... ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ... ธรรมเหล่านี้ควรละ ... ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัด ออกแห่งผัสสายตนะ๑- ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์๒- ๕ ... แห่งมหาภูตรูป ๔ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ตรัสสอน ตรัสไว้ คือ ทรงบอก ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความ รู้ยิ่ง มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุผล มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุผล แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ พวกเธอควรทำตามโอวาท ทำตามคำสั่งสอนของเรานั้น ผู้แสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ผู้แสดงธรรมมีเหตุผล มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุผล ผู้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ก็เป็นการเพียงพอเพื่อความยินดี เพื่อความปราโมทย์ เพื่อโสมนัสว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระ องค์ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว”... ก็แล เมื่อตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ ทั้ง ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ ก็ได้สั่นไหวแล้ว๓- รวมความว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะ ทรงทราบแล้วตรัสไว้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้วตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี @เชิงอรรถ : @ ผัสสายตนะ ๖ หมายถึงแดนเกิดผัสสะ ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๓/๓๙๖) @ อุปาทานขันธ์ ๕ คือความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ @(สํ.ข. ๑๗/๔๘/๓๙) @ องฺ.ติก. ๒๐/๑๒๖/๒๖๙-๒๗๐, อภิ.ก. ๓๗/๘๐๖/๔๖๕-๔๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

[๑๐๔] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเรื่องความไม่มีและความมีว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใดแก่ข้าพระองค์
ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจและความเสียใจ
คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธ เนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล ... เหตุเกิด แห่งความดีใจและความเสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏขึ้นจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวม ความว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อธิบายว่า เมื่ออะไรไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความดีใจและความเสียใจจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและ ความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี คำว่า ... เรื่องความไม่มีและความมีว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด อธิบายว่า ความมีแห่งความดีใจและความเสียใจ เป็นอย่างไร คือ ความมี ความเป็น ความเกิด ความเกิดขึ้น ความบังเกิด ความบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งความดีใจและความเสียใจ นี้ชื่อว่าความมีแห่งความดีใจและความเสียใจ ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจ เป็นอย่างไร คือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกไป ความทำลายไป ความเป็นของ ไม่เที่ยง ความอันตรธานไปแห่งความดีใจและความเสียใจ นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่ง ความดีใจและความเสียใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า เรื่อง ได้แก่ เรื่องสำคัญยิ่ง รวมความว่า เรื่องความไม่มีและความมี คำว่า นี้ ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... นี้ว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด แก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ข้อที่ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด ได้แก่ สิ่งที่ เป็นต้นเหตุ สิ่งที่เป็นเหตุเกิด สิ่งที่เป็นกำเนิด สิ่งที่เป็นแดนเกิด รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ว่ามีต้นเหตุมาจากสิ่งใด แก่ข้าพระองค์ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเรื่องความไม่มีและความมีว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใดแก่ข้าพระองค์ [๑๐๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกเรื่องความไม่มีและความมีนี้ว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ อธิบายว่า สุขเวทนา(ความรู้สึกสบาย) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับไป คือ สงบไป ทุกขเวทนา(ความรู้สึกไม่สบาย) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับไป คือ สงบไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแหละ ดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่กำลังเสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับไป คือ สงบไป คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ อธิบายว่า ความดีใจ และความเสียใจ มีต้นเหตุมาจากผัสสะ คือ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด รวมความว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ คำว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อธิบายว่า เมื่อผัสสะไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความดีใจและความเสียใจ ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ไม่ปรากฏ รวมความว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี คำว่า ...เรื่องความไม่มีและความมี อธิบายว่า ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่ามี) ก็ดี วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ก็ดี มีต้นเหตุมาจากผัสสะ คำว่า เรื่อง ได้แก่ เรื่องสำคัญยิ่ง รวมความว่า เรื่องความไม่มีและความมี คำว่า นี้ ในคำว่า เราขอบอก ... นี้ว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ อธิบายว่า ข้อที่เธอทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศ คำว่า เราขอบอก ได้แก่ เราขอบอก คือ ขอกล่าว แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราขอบอก... นี้แก่เธอ คำว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้ ได้แก่ มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้ คือ มีผัสสะ เป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด รวมความว่า เราขอบอก ... นี้ว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกเรื่องความไม่มีและความมีนี้ว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

[๑๐๖] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน และความยึดถือมีมาจากไหน เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
ว่าด้วยต้นเหตุแห่งผัสสะ
คำว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งผัสสะว่า ผัสสะมีต้นเหตุมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน คำว่า และความยึดถือมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งความ ยึดถือว่า ความยึดถือมีมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และความยึดถือมีมาจากไหน คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า เมื่ออะไร ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง อธิบายว่า เมื่ออะไรไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะ จึงไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน และความยึดถือมีมาจากไหน เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง [๑๐๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คำว่า เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด อธิบายว่า จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ตา (๒) รูป (๓) จักขุวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ตาและรูปอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรม ทั้งหลายเว้นจักขุสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วย ประการอย่างนี้ โสตวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) หู (๒) เสียง (๓) โสตวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด หูและเสียงอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นโสตสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม และรูป ด้วยประการอย่างนี้ ฆานวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) จมูก (๒) กลิ่น (๓) ฆานวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด จมูกและกลิ่นอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นฆานสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม และรูป ด้วยประการอย่างนี้ ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ลิ้น (๒) รส (๓) ชิวหาวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ลิ้นและรสอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นชิวหาสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม และรูป ด้วยประการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

กายวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) กาย (๒) โผฏฐัพพะ (๓) กายวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด กายและโผฏฐัพพะอยู่ใน ส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นกายสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ อาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้ มโนวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งหลาย ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) หทัยวัตถุ (๒) ธรรมารมณ์ (๓) มโนวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด หทัยวัตถุและธรรมารมณ์ที่มีรูปทั้งหลายอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้น มโนสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้
ว่าด้วยความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัส เรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ๑- คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ ตัณหา... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ความยึดถือ มีต้นเหตุมาจากความปรารถนา คือ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ มีความปรารถนา เป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความปรารถนา บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔
คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ คำว่า เมื่อรูปไม่มี ได้แก่ รูปไม่มีเพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. เพราะการรู้ ๒. เพราะการพิจารณา ๓. เพราะการละ ๔. เพราะการก้าวพ้น รูปไม่มีเพราะการรู้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้รูป คือ รู้จัก มองเห็นว่า “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปทั้งหมด คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔” รูปไม่มีเพราะการรู้ เป็นอย่างนี้ รูปไม่มีเพราะการพิจารณา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทำรูปที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้ พิจารณารูป คือ พิจารณาโดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็น อาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็นอุปัททวะ เป็นภัย เป็น อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

เป็นเหตุแห่งความลำบาก เป็นดุจเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมี อาสวะ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความแช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รูปไม่มีเพราะ การพิจารณา เป็นอย่างนี้ รูปไม่มีเพราะการละ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมละ คือ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดเพราะความพอใจในรูป สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละความ กำหนัด เพราะความพอใจในรูป เธอละรูปนั้นได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ รูปไม่มีเพราะการละ เป็นอย่างนี้ รูปไม่มีเพราะการก้าวพ้น เป็นอย่างไร คือ ผู้ได้อรูปสมาบัติ๑- ๔ คือ ไม่มีรูป คือ ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว รูปไม่มีเพราะการก้าวพ้น เป็นอย่างนี้ รูปชื่อว่าไม่มีเพราะเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง อธิบายว่า เมื่อรูปไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น ผัสสะ ๕ อย่าง คือ ๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส ๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส ๕. กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง รวมความว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า @เชิงอรรถ : @ อรูปสมาบัติ ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง [๑๐๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น คำว่า ดำเนินอย่างไร ในคำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อธิบาย ว่า ดำเนินอย่างไร คือ ปฏิบัติอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร เป็นไปอย่างไร เลี้ยงชีวิต อย่างไร ดำเนินไปอย่างไร ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร รูปจึงไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี คำว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร อธิบายว่า สุขและทุกข์จะไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นได้อย่างไร รวมความว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้ อย่างไร คำว่า วิธีการนั้น ในคำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ วิธีการที่ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ รวมความว่า วิธีการนั้น คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ขอพระองค์ โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์ คำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ได้แก่ สุขและทุกข์ย่อมไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น โดยวิธีการใด รวมความว่า สุขและทุกข์ย่อม ไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า จะรู้วิธีการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น ได้แก่ พวกข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่วถึง รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดวิธีการนั้น รวมความว่า จะรู้วิธีการนั้น คำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า ได้แก่ ข้าพระองค์มีความตั้งใจ คือ ข้าพระองค์มีความคิด ข้าพระองค์มีความดำริ ข้าพระองค์มีความรู้แจ้ง ดังนี้ รวม ความว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น [๑๐๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญา ผิดปกติ อธิบายว่า คนเหล่าใด ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นมิได้ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ คนเหล่าใด เป็นบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้มีสัญญาโดย สัญญาผิดปกติ บุคคลนั้น มิได้เป็นบ้า มิได้มีจิตฟุ้งซ่าน รวมความว่า บุคคลไม่เป็นผู้ มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่ อธิบายว่า คนเหล่าใด เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว และเป็นอสัญญีสัตว์ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีสัญญา บุคคลนั้นมิใช่ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว มิได้เป็นอสัญญีสัตว์ คนเหล่าใด ได้อรูปสมาบัติ ๔ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ปราศจากสัญญา บุคคลนั้นมิใช่ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจาก สัญญาก็มิใช่ คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขได้ ... บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่น ไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อม เพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือ ปฏิบัติอย่างนี้ เคลื่อนไหวอย่างนี้ เป็นไปอย่างนี้ เลี้ยงชีวิตอย่างนี้ ดำเนินไปอย่างนี้ ยังชีวิตให้ ดำเนินไปอย่างนี้ รูปก็ย่อมไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้านั่นเอง คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ ตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ มานะ มีต้นเหตุมาจากสัญญา คือ มีสัญญาเป็นเหตุเกิด มีสัญญาเป็นกำเนิด มี สัญญาเป็นแดนเกิด รวมความว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุ มาจากสัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา [๑๑๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้น แก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ได้ทูลขอ ได้ทูลอัญเชิญ ได้ทูลให้ประกาศธรรมใดแล้ว คำว่า พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ได้ตรัส ตอบ คือ ได้ทรงชี้แจงแล้ว ตรัสบอกแล้ว ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก ธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ ประกาศธรรมอื่นอีก ได้แก่ ขอทูลถามพระองค์ถึงธรรมที่ยิ่งขึ้นไป คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ขอเชิญ พระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์ โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความหมดจดแห่งอรูปสมาบัติ
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คำว่า ของยักษ์ ได้แก่ ของสัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป คำว่า อ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตใน โลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า สมณพราหมณ์ บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วย อรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ คำว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ อธิบายว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวก ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ หมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของยักษ์อย่างอื่น คือ ยอดเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ รวมความว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่าเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ [๑๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ อธิบายว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คำว่า ยักษ์ ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป คำว่า อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นบัณฑิต ในโลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของ ยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้าง ตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ อธิบายว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ขยาดต่อภพ ชื่นชอบความปราศจากภพ สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงัดแห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว อัตตานี้ ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่มีอยู่ โดยเหตุใด ความไม่มี อะไรเหลือ ก็มีโดยเหตุเท่านั้น คำว่า อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ อ้างว่า เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ตอบว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ [๑๑๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้ เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ คำว่า เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณา แล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ(ความเห็นว่า เที่ยง) เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นผู้อาศัยทั้งสัสสตทิฏฐิและ อุจเฉททิฏฐิ” รวมความว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไป อาศัยทิฏฐิ คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น... และรู้จักทิฏฐิเป็น ที่อาศัย อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ...ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหา ดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- มุนี รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ เป็นผู้อาศัย ทั้งสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ” คำว่า ... ผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ... และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย คำว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้นไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ครั้นรู้จักแล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คำว่า หลุดพ้น ได้แก่ หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ... คือ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส

ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” ก็หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็ หลุดพ้น คำว่า ไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ไม่ก่อการทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการ แก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร เรื่องใดที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่ ยึดมั่น ชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑- รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า นักปราชญ์... ไม่กลับมาในภพน้อยภพ ใหญ่ อธิบายว่า ไม่กลับมา คือ ไม่มาถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็น เครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน อรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในอัตภาพ ต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า นักปราชญ์ ... ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์ ผู้เป็นเจัาลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่
กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๙๗-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=5617&Z=6384                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=442              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=442&items=77              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8151              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=442&items=77              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8151                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :