บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส๑- อธิบายจูฬวิยูหสูตร ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะทิฏฐิสูตรเล็ก พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายจูฬวิยูหสูตร ดังต่อไปนี้ [๑๑๓] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตนๆ ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่างๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ คำว่า ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตนๆ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิ บางพวก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดาทิฏฐิ๒- ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตนๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือ พวกปุถุชนผู้มีกิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด มีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดา ทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตนๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตนๆ คำว่า ถือแล้ว ในคำว่า ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่างๆ ได้แก่ ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๘๕-๙๐๑/๕๐๖-๕๑๐ @๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า พูดกันไปต่างๆ ได้แก่ พูดกันไปต่างๆ คือ พูดมากอย่าง พูดอย่างโน้น อย่างนี้ พูดไปมากมาย คือ ไม่กล่าว ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงเป็นอย่าง เดียวกัน คำว่า อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด คือ อ้างว่าเป็น บัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า ถือแล้วก็อ้างตัว ว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่างๆ คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นก็ชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว อธิบายว่า บุคคลใด รู้ธรรม คือ ทิฏฐิ๑- ปฏิปทา๒- มรรค๓- นี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ คือ ได้รู้ ได้เห็น ได้แทง ตลอดธรรมแล้ว รวมความว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ อธิบายว่า บุคคลใด คัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ คือ ไม่สมบูรณ์ ไม่บริบูรณ์ ได้แก่ บุคคลนั้นเป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่ สำเร็จกิจ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตนๆ ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่างๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ @เชิงอรรถ : @๑ ทิฏฐิ ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๒๙ @๒ ปฏิปทา แนวปฏิบัติที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดมุ่งหมาย คือความหลุดพ้นหรือสิ้นอาสวะ @(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๗-๑๖๘/๑๗๖-๑๗๗) @๓ มรรค ดูรายละเอียดข้อ ๑๑๙/๓๔๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๑๔] (พระพุทธเนรมิตทูลถามอีกว่า) สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาดว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ คำว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท อธิบายว่า ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น อย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด รวมความว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด อธิบายว่า กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า คนอื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ไม่ฉลาด คือ ไม่มีความรู้ ไปตามอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ รวมความว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็น คนพาล ไม่ฉลาด คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ อธิบายว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริง คือ แท้ แน่ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหน เป็นเรื่องจริงกันหนอ คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด คือ อ้างว่า เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระ- พุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด [๑๑๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ คำว่า ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย อธิบายว่า ไม่ยอมรับ คือ ไม่เห็นตาม ไม่คล้อยตาม ไม่ยินดีตามธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของผู้อื่น รวมความว่า ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย คำว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม อธิบายว่า คนอื่นเป็นพาล เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญา ทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย รวมความว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล มีปัญญาทราม อธิบาย ว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ มีปัญญา เลว คือ มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย รวมความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล มีปัญญาทราม คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตนๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มีกิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ คือ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตนๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสตอบว่า คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ [๑๑๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น คำว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน อธิบายว่า พวกสมณพราหมณ์ไม่ผ่องแผ้ว คือ ไม่ผ่องใส ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หม่นหมอง เพราะทิฏฐิของตน คือ เพราะความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ อธิบายว่า เป็นผู้มี ปัญญาหมดจด คือ มีปัญญาสะอาด มีปัญญาบริสุทธิ์ มีปัญญาผ่องใส มีปัญญา แจ่มใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็นหมดจด มีความเห็นสะอาด มีความเห็นบริสุทธิ์ มีความเห็นผ่องใส มีความเห็นแจ่มใส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี คำว่า ฉลาด ได้แก่ ฉลาด คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา หมดจดดี ฉลาด คำว่า มีความรู้ ได้แก่ มีความรู้ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็น ผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา อธิบายว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครมีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ ทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญา ประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญาสูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุด รวมความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา คำว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น อธิบายว่า ทิฏฐิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือกันมา คือ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อกันมาอย่างนั้น รวมความว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้ เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๑๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล คำว่า ไม่ ในคำว่า เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง เป็นคำปฏิเสธ คำว่า นั้น ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อธิบายว่า เราไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่กำหนด ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก ไม่ทำให้ง่าย ไม่ประกาศทิฏฐินั้น ว่าจริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง คำว่า คน ๒ พวก ในคำว่า คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล อธิบายว่า คน ๒ พวก คือ คนก่อการทะเลาะกัน ๒ พวก คนก่อ การบาดหมางกัน ๒ พวก คนก่อการอื้อฉาวกัน ๒ พวก คนก่อการวิวาทกัน ๒ พวก คนก่ออธิกรณ์กัน ๒ พวก คนว่าร้ายกัน ๒ พวก คนโต้เถียงกัน ๒ พวก คนเหล่านั้นกล่าวหากันและกันอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล คำว่า พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง อธิบายว่า พากันประกาศทิฏฐิของตนๆ ว่า จริงว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น โมฆะ ... โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ พากันประกาศทิฏฐิ ของตนๆ ว่าจริง ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก ก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์พากัน ประกาศทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็น คนพาล ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่น คือ เห็น มองเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ดูว่า เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตนๆ ว่าจริง เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล [๑๑๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้ สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ซึ่งธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใดอย่างนี้ว่า ธรรมนี้ จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้ คำว่า สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ อธิบาย ว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง ก็พากันกล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงซึ่ง ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า ธรรมนั่นเปล่า ธรรมนั่นเท็จ ธรรมนั่นไม่เป็นจริง ธรรมนั่นเหลาะแหละ ธรรมนั่นไม่แน่นอน รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้ แล้ววิวาทกัน คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์ จึงไม่พูด อย่างเดียวกัน อธิบายว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ไร เพราะอะไรเป็นเหตุ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ เพราะอะไรเป็นเหตุเกิด เพราะอะไร เป็นกำเนิด เพราะอะไรเป็นแดนเกิด สมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คือ พูดไปต่างๆ หลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจง หลายอย่าง รวมความว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์ จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้ สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน [๑๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่างๆ กันไปเอง เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกันว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ อธิบายว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับกิเลส ความเย็นสนิท ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว อีกนัยหนึ่ง มรรคสัจจะ เป็นสัจจะที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ คือ ทุกข- นิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
๑. สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ(พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ(ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า เพราะสัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ คำว่า ใด ในคำว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน ได้แก่ ในสัจจะใด คำว่า หมู่สัตว์ เป็นชื่อเรียกสัตว์ คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า รู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดสัจจะใด ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อการบาดหมาง ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการ วิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี อีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย รวม ความว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่างๆ กันไปเอง อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะต่างๆ กันไปเองว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะ ต่างๆ กันไปเองว่า โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ รวมความว่า สมณพราหมณ์ เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่างๆ กันไปเอง คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูด อย่างเดียวกัน อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คือ พูดไป ต่างๆ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจง มากมาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่างๆ กันไปเอง เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน [๑๒๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่างๆ อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่างๆ กันหรือ หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์ จึงพูดสัจจะไปต่างๆ อธิบายว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ไร เพราะอะไร เป็นเหตุ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ พวกสมณพราหมณ์จึงพูด สัจจะไปต่างๆ คือ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงมากมาย รวมความว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะ ไปต่างๆ คำว่า พูดพร่ำกันไป ในคำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป อธิบาย ว่า เพราะพูดพร่ำเพ้อไป จึงชื่อว่าพูดพร่ำกันไป อีกนัยหนึ่ง พวกสมณพราหมณ์พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิ ของตนๆ ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ พวกสมณพราหมณ์ พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิของตนๆ ว่า โลกไม่เที่ยง ... หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เป็นโมฆะ คำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่า เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า อ้างตนว่าเป็น คนฉลาด พูดพร่ำกันไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่างๆ กัน หรือ อธิบายว่า สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่างๆ กัน คือ มีหลายอย่าง เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มากมาย รวมความว่า สัจจะที่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่างๆ กันหรือ คำว่า หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง อธิบายว่า หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ดำเนินไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยความตรึก คือ ด้วยความวิตก ความดำริ รวมความว่า หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากัน นึกตรึกเอาเอง อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะที่ ตนประมวลมาด้วยความตรึก ที่ตนประพฤติตามด้วยการพิจารณาใคร่ครวญ ที่รู้เอง รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่างๆ อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่างๆ กันหรือ หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง [๑๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่างๆ กันเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง แล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน คำว่า มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่างๆ กันเลย อธิบายว่า มิได้มีสัจจะ หลายอย่างต่างๆ กัน คือ มิได้มีหลายอย่าง เป็นอย่างโน้นอย่างนี้มากมายเลย รวมความว่า มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่างๆ กันเลย คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก อธิบายว่า เว้นแต่สัจจะที่ถือ ว่าแน่นอนด้วยสัญญา สัจจะอย่างเดียวเท่านั้นที่บัณฑิตกล่าว บอก แสดง ชี้แจงไว้ใน โลก ได้แก่ นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง อุปธิทั้งหมด ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับกิเลส ความเย็นสนิท อีกนัยหนึ่ง มรรคสัจจะ คือ สัจจะที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ... ๘. สัมมาสมาธิ ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วย สัญญาในโลก คำว่า แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลายพากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลาย ไปเองแล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ อธิบายว่า พวกสมณพราหมณ์พากันตรึก ตรอง ดำริ แล้วทำทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้น ครั้นทำทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นแล้วก็กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ รวมความว่า แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลายพากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง แล้วกล่าว ธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสตอบว่า มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่างๆ กันเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง แล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาดเจ้าลัทธิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น คำว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น อธิบายว่า เจ้าลัทธิอาศัย คือ เข้าไป อาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดเพราะรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ศีล หรือความหมดจดเพราะศีล วัตร หรือ ความหมดจดเพราะวัตร อารมณ์ที่รับรู้ หรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรือ อารมณ์ที่รับรู้แล้ว คำว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้... แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น อธิบายว่า เจ้าลัทธิไม่นับถือ จึงชื่อว่าแสดงอาการดูหมิ่นบ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธิทำโทมนัส ให้เกิด ก็ชื่อว่าแสดงอาการดูหมิ่นบ้าง รวมความว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น คำว่า และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว เจ้าลัทธิ ดำรงอยู่ คือ ยืนยันอยู่ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว รวมความว่า ดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว คำว่า ก็ร่าเริง ได้แก่ ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์แล้ว อีกนัยหนึ่ง หัวเราะจนมองเห็นฟัน รวมความว่า และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว ก็ร่าเริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด อธิบายว่า กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นคนพาล คือ เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ตกอยู่ในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา แจ่มแจ้ง ไม่มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส มีปัญญาทึบ รวมความว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด [๑๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกันเจ้าลัทธิเห็นคนอื่นเป็นพาล คำว่า เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด อธิบายว่า เจ้าลัทธิใส่ไฟ คือ เห็น มองเห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะเหตุใด คือ เพราะปัจจัยใด เพราะการณ์ใด เพราะแดนเกิดใด รวมความว่า เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด คำว่า ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น อธิบายว่า ตน ตรัสเรียกว่า ตนเอง เจ้าลัทธิแม้นั้นกล่าวถึงตนเองว่า เราเป็นคนฉลาด คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
เพราะเหตุนั้น คือ เพราะปัจจัยนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะแดนเกิดนั้น รวมความว่า ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น คำว่า เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น อวดอ้างตนเองว่า เป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่า สมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า เจ้าลัทธิไม่นับถือ จึงชื่อว่า ดูหมิ่นผู้อื่นบ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธิทำโทมนัสให้เกิดจึงชื่อว่า ดูหมิ่นผู้อื่นบ้าง คำว่า และกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน ได้แก่ กล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน คือ ทิฏฐินั้นว่า บุคคลนี้ มีความเห็นผิด มีความเห็นวิปริต แม้ด้วยประการอย่างนี้ รวมความว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน [๑๒๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่าอติสารทิฏฐิ คำว่า เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ ๖๒ จึงตรัสเรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมด ก้าวล่วงเหตุ ก้าวล่วงลักษณะ ก้าวล่วงฐานะ เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ ๖๒ จึงตรัสเรียกว่า อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์ทุกจำพวก เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์ทุกจำพวก จึงชื่อว่าเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเดียรถีย์ เหล่านั้น ก้าวล่วง คือ ก้าวพ้น ล่วงพ้นกันและกัน ทำทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทุกจำพวก จึงชื่อว่าเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ คำว่า เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ อธิบายว่า เจ้าลัทธิ เป็นผู้เพียบพร้อม คือ บริบูรณ์ ไม่บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ รวมความว่า เจ้าลัทธิ นั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ คำว่า เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อธิบายว่า เมา คือ ประมาท คลั่ง คลั่งไคล้ด้วยทิฏฐิของตน คือ ด้วยความถือตัวเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เมาด้วยความถือตัว คำว่า มีความถือตัวจัด ได้แก่ มีความถือตัวจัด คือ มีความถือตัวมาก มีความถือตัวไม่บกพร่อง รวมความว่า เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ อธิบายว่า อภิเษกตนเองนั่นแหละด้วยความ คิดว่า เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ คำว่า เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น อธิบายว่า ทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิ ถือกันมาแล้ว คือ สมาทานแล้ว ถือแล้ว ยึดมั่นแล้ว ถือมั่นแล้ว ติดใจแล้ว น้อมใจเชื่อแล้วอย่างนั้น รวมความว่า เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น [๑๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น และถ้าผู้เรียนจบพระเวท๑- เองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล คำว่า อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ อธิบายว่า หากบุคคลอื่นเป็นคนพาล เลว เลวทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะวาจา คือ เพราะถ้อยคำของผู้อื่น เพราะเหตุที่ถูกนินทา เพราะเหตุที่ถูกติเตียน เพราะเหตุที่ถูกว่าร้ายไซร้ รวมความว่า อนึ่งหากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจา ของผู้อื่นไซร้ คำว่า เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น อธิบายว่า แม้เขาก็เป็นผู้มี ปัญญาเลว คือ เป็นผู้มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย พร้อมกับผู้นั้นนั่นเอง รวมความว่า เขาก็เป็น ผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น คำว่า และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ อธิบายว่า และ ถ้าผู้เรียนจบพระเวทเอง เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสไซร้ รวมความว่า และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ @เชิงอรรถ : @๑ จบพระเวท หมายถึงจบไตรเพท อันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ มี ๓ คือ (๑) ฤคเวท @(อิรุเวท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า (๒) ยชุรเวท บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ (๓) สามเวท @ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่ม (๔) อถรรพเวทหรืออาถรรพณเวท @ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล อธิบายว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใคร เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว เลวทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยเลย ทุกคนก็มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญา สูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุดไปหมด รวมความว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล [๑๒๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน คำว่า ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็ พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ อธิบายว่า ชนเหล่าใด กล่าว สรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาด คือ ผิด พลั้ง คลาดทางแห่งความหมดจด คือ ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความ บริสุทธิ์ ทางแห่งความผุดผ่อง ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือ พลาดจากอรหัตตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ คือ ชนเหล่านั้นไม่เพียบพร้อม ไม่บริบูรณ์ ได้แก่ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ชนเหล่าใดกล่าว สรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ คำว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ติตถะ(ท่า) เจ้าทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ทิฏฐิมากมาย รวมความว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ คำว่า เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน อธิบายว่า เพราะพวกเขายินดี ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน รวมความว่า เพราะ พวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน [๑๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้นว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์ คำว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความ สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า โลก ไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ รวมความว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความ หมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์ เหล่านั้น ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งวาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดา กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะ มิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม หมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็น ผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ไม่กล่าว ความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิตรัส เรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในทิฏฐิมาก ด้วยทิฏฐิมาก รวมความว่า พวกเดียรถีย์ ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรคก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกเดียรถีย์กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนว ทางของตนนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว คำว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่า แนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน เจ้าลัทธิ กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทาง ของตน คำว่า ในเพราะทิฏฐินี้ ในคำว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐิ นี้ อธิบายว่า พึงใส่ไฟ คือ เห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ คำว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ผู้อื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา คือ มีความไม่สะอาดเป็นธรรมดา มีความไม่ บริสุทธิ์เป็นธรรมดา มีความไม่ผ่องแผ้วเป็นธรรมดา พึงนำ คือ นำมาพร้อม ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้ายมาเองทีเดียว รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าว ถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเอง ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้ เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว [๑๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก คำว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นในทิฏฐิที่ตกลงใจ รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ คำว่า นับถือเอง อธิบายว่า นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า ศาสดานี้ เป็น สัพพัญญู ได้แก่ นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า ธรรมนี้ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว... หมู่คณะนี้เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ... ปฏิปทานี้ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว... มรรคนี้เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ ตกลงใจและนับถือเองแล้ว คำว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า กาลข้างหน้า เจ้าลัทธินั้นวางวาทะของตนไว้ข้างหน้า ก็ถึง คือ เข้าถึง เข้าไปถึงถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย เองทีเดียว รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธินั้นย่อมก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกับวาทะอื่นข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิ ละ คือ สละ สละขาด เว้น ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งทิฏฐิที่ตกลงใจทุกอย่าง จากความตกลงใจด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ คำว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก อธิบายว่า ไม่ก่อการ ทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการแก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร ย่อมชี้แจง ไม่ถือมั่นสิ่งที่กล่าวกัน ในโลก เรื่องใด ที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่ยึดมั่นชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑- คำว่า คนที่เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลกจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๓๘-๓๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=12 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=6385&Z=6832 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=519 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=519&items=81 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8358 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=519&items=81 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8358 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]