ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ

๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้หญิงที่มี ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี๑- หญิงที่บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไม่อดทน ไม่อดกลั้น ต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน @เชิงอรรถ : @ หญิงที่จะได้รับการบวชเป็นภิกษุณีนั้น นอกจากจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนแล้ว ยังต้อง @มีอายุครบ ๒๐ ปี แต่ในกรณีนี้ เป็นข้อยกเว้นสำหรับหญิงที่มีครอบครัวแล้วหรือเคยผ่านการแต่งงานมี @ครอบครัวมาแล้ว แม้เธอจะมีอายุเพียง ๑๒ ปี ถ้าผ่านการศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี และสงฆ์ @ให้การสมมติคือรับรองแล้ว ก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ (กงฺขา.อ. ๓๙๘-๔๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๐๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าหญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำ กล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกาย ที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๙๑] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๙๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อายุต่ำกว่า ๑๒ ปี คือ อายุไม่ถึง ๑๒ ปี ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม กับชาย คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้ ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๐๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๑๐๙๓] หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๙๔] ๑. หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้ ๒. หญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๐๕-๓๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=5129&Z=5180                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=380              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=380&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11762              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=380&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11762                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.380 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc65/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc65/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :