ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
แสดงภูมินานัตตญาณ
[๗๒] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ เป็นอย่างไร คือ ภูมิ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม) ๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป) ๓. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป) ๔. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ) กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยว อยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส

รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑- ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า อปริยาปันนภูมิ เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔ ภูมิ ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ ๒- สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔ ๓- เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า ภูมินานัตตญาณ
ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๓) @ อริยวงศ์ ๔ ได้แก่ (๑) ความสันโดษในจีวร (๒) ความสันโดษในบิณฑบาต (๓) ความสันโดษในเสนาสนะ @(๔) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๕) @ ธรรมบท ๔ ในที่นี้ ได้แก่ (๑) อนภิชฌา (๒) อพยาบาท (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๒๑-๑๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2029&Z=2050                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=171              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=171&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6959              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=171&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6959                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :