ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๑] สภาวะที่ควรกำหนดควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นบริวาร ... สภาวะที่เต็มรอบ
... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ... สภาวะที่ประคองไว้ ...
สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ... สภาวะที่ไม่ขุ่นมัว ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ...
สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์ ... สภาวะที่เป็นโคจร ... สภาวะที่ละ ... สภาวะที่สละ ... สภาวะที่ออก ...
สภาวะที่หลีกไป ... สภาวะที่ละเอียด ... สภาวะที่ประณีต ... สภาวะที่หลุดพ้น ...
สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ... สภาวะเครื่องข้าม ... สภาวะที่ไม่มีนิมิต ... สภาวะอันไม่มีที่ตั้ง
... สภาวะที่ว่าง ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ... สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกัน ...
สภาวะที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่นำออก ... สภาวะที่เป็นเหตุ ... สภาวะที่เห็น ...
สภาวะที่เป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง
             [๑๒] สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ... สภาวะที่ไม่
ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่สมาทานแห่งสิกขา ... สภาวะที่เป็น
โคจรแห่งอารมณ์ ... สภาวะที่ประคองจิตซึ่งย่อท้อ ... สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ...
สภาวะที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ...
สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ... สภาวะที่รู้แจ้งอริยมรรคอันยอดเยี่ยม ... สภาวะที่ตรัสรู้
สัจจะ ... สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธควรรู้ยิ่ง
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา- สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา- สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่ เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง [๑๓] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ... สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ... สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง แห่งผลควรรู้ยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตกควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ... สภาวะที่ แผ่ไปแห่งปีติ ... สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์ เดียว) แห่งจิต ... สภาวะที่นึก ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ชัด ... สภาวะที่จำได้ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แห่งอภิญญาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ... สภาวะที่ สละแห่งปหานะ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ... สภาวะที่ถูกต้อง แห่งสัจฉิกิริยา ... สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ... สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ ทั้งหลาย ... สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ... สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง สังขตธรรม ... สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมควรรู้ยิ่ง [๑๔] สภาวะแห่งจิตควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ... สภาวะที่ ออกแห่งจิต ... สภาวะที่หลีกไปแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น ปัจจัยแห่งจิต ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นภูมิแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น อารมณ์แห่งจิต ... สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ... สภาวะที่เที่ยวไปแห่งจิต ... สภาวะ ที่ไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำออกแห่งจิต ... สภาวะที่สลัด ออกแห่งจิตควรรู้ยิ่ง [๑๕] สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่แล่นไปในจิต ที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้ง มั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้ เป็นดุจญาณในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ประชุม ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ ที่ปฏิบัติในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ ที่ทำให้มากในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้๑- ในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้ตาม๒- ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้ เฉพาะ๓- ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม๔- ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็น เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไป ในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเนืองๆ ในจิตที่ เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ สว่างพร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ควรรู้ยิ่ง [๑๖] สภาวะที่อริยมรรคให้สว่างควรรู้ยิ่ง สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ... สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ... สภาวะที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ... สภาวะที่ อริยมรรคปราศจากมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรค สงบ ... สภาวะที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ... สภาวะแห่งวิเวก ... สภาวะที่ดำเนินไป ในวิเวก ... สภาวะแห่งความคลายกำหนัด ... สภาวะที่ดำเนินไปในความคลาย กำหนัด ... สภาวะแห่งความดับ ... สภาวะที่ดำเนินไปในความดับ ... สภาวะแห่ง การสละ ... สภาวะที่ดำเนินไปในการสละ ... สภาวะแห่งความพ้น ... สภาวะที่ ดำเนินไปในความพ้นควรรู้ยิ่ง @เชิงอรรถ : @ สภาวะที่ตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้โสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐) @ สภาวะที่ตรัสรู้ตาม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้สกทาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐) @ สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อนาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐) @ สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อรหัตตมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นบาท แห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ... สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง ฉันทะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง สภาวะแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นบาท แห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิริยะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิริยะ ... สภาวะ ที่น้อมไปแห่งวิริยะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เห็นแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง สภาวะแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เป็นบาทแห่ง จิตตะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งจิตตะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ น้อมไปแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งจิตตะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เห็นแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง สภาวะแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นบาท แห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ... สภาวะที่น้อมไปแห่งวิมังสา ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ตั้งมั่น แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง [๑๗] สภาวะแห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ปัจจัย ปรุงแต่งแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ... สภาวะที่แปรผันแห่ง ทุกข์ ... สภาวะแห่งสมุทัย ... สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ... สภาวะที่เป็นเหตุ แห่งสมุทัย ... สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ... สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย ... สภาวะ แห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ... สภาวะแห่ง มรรค ... สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่เห็น แห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรคควรรู้ยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะที่เป็นของแท้ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นอนัตตา ... สภาวะที่เป็นจริง ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ยิ่ง ... สภาวะที่กำหนดรู้ ... สภาวะที่เป็นธรรม ... สภาวะที่เป็นธาตุ ... สภาวะที่รู้ ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง ... สภาวะที่ถูกต้อง ... สภาวะ ที่ตรัสรู้ควรรู้ยิ่ง [๑๘] เนกขัมมะ (การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท (ความไม่พยาบาท) ... อาโลกสัญญา (ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน) ... ธัมมววัตถาน (ความกำหนดธรรม) ... ญาณ (ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์) ควรรู้ยิ่ง ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ- จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุ- ปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุ- ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ... วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความ เสื่อมไป) ... วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ... อนิมิตตานุ- ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ... อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณา เห็นความไม่มีที่ตั้ง) ... สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ... อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ... ยถาภูต- ญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ... อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณา เห็นโทษ) ... ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ... วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง [๑๙] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ... อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมี สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ อวิชชาควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ- สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่ หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท- ญาณ๑- เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง [๒๐] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (๑)
ทุติยภาณวาร จบ
[๒๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ ธรรม ๑ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๓ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓ ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔ ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖ @เชิงอรรถ : @ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. ๑/๑๙/๑๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๒๑-๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=305&Z=455                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=30&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=2304              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=30&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=2304                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :