ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๕. จริยากถา

๕. จริยากถา
ว่าด้วยความประพฤติ
[๒๘] คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ ๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ ๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค ๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายใน และอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔ คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔ คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔ คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔ คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติใน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความประพฤติในอายตนะมี แก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ความ ประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณมีแก่ผู้บรรลุ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความประพฤติในผล มีแก่ผู้ได้บรรลุ และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่พระตถาคตอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบางส่วน เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๕. จริยากถา

อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. ผู้น้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ๒. ผู้ประคองไว้ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ ๓. ผู้ตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ ๔. ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ๕. ผู้รู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา ๖. ผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยญาณ ๗. ผู้มนสิการว่า “กุศลธรรมย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ชื่อว่า ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ ๘. ผู้มนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าย่อม ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ ๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา ๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา ๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา ๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา ๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา ๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา ๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา ๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
จริยากถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๘๕-๕๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=84              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10560&Z=10592                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=715              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=715&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8129              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=715&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8129                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :