ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ตามพระโคตร ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก [๒] ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง๑- ถึงที่สุดแห่งจริยา๒- ทรงทำลายกิเลส ดังราชสีห์ทำลายกรง๓- แล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ [๓] เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงประกาศพระธรรมจักร เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๔๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑ [๔] พระองค์แสดงฤทธิ์กระทำยมกปาฏิหาริย์ในอากาศกลางหาว ทรงทำเทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๐,๐๐๐ โกฏิ ให้บรรลุธรรม [๕] ในคราวประกาศอริยสัจ ๔ แก่ยักษ์นรเทพ การบรรลุธรรมของยักษ์นั้น ไม่ได้คำนวณนับ @เชิงอรรถ : @ ภพทั้งปวง ได้แก่ ภพ ๙ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘) @ จริยา หมายถึงบารมี (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘) @ กรง หมายถึงภพ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์

[๖] พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว [๗] ครั้งนั้น พระขีณาสพผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งหมู่ข้าศึกคืออาสวะ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน [๘] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าเขมะ ได้ถวายทานมิใช่น้อยในพระตถาคตและในสาวกผู้ชินบุตร [๙] ถวายบาตร จีวร ยาหยอดตา ชะเอมเครือ ถวายสิ่งนั้น สิ่งนี้ ที่ประเสริฐยอดเยี่ยม ทุกอย่างตามที่ภิกษุสงฆ์ปรารถนา [๑๐] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษก็ทรงพยากรณ์เราว่า ‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’ [๑๑] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์ ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์

พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้ จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้ พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์ จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’ สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง ประนมมือนมัสการว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์

‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้ ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’ [๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป [๑๓] กรุงชื่อว่าเขมวดี ครั้งนั้น เรามีชื่อว่าเขมะ เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงออกบวชในสำนักของพระองค์ [๑๔] อัคคิทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา นางพราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า พระนามกกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ [๑๕] ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลที่ประเสริฐที่สุดของคนทั้งหลาย มีชาติสูง มียศมาก อยู่ในเขมนครนั้น [๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๔,๐๐๐ ปี มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง คือกามวัฑฒปราสาท กามสุทธิปราสาท และรติวัฑฒปราสาท [๑๗] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าโรปินี พระราชโอรสพระนามว่าอุตตระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์

[๑๘] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ) [๑๙] พระมหาวีระพระนามว่ากกุสันธะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน [๒๐] พระวิธุรเถระและพระสัญชีวนามเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าพุทธิชะเป็นพระอุปัฏฐาก ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ [๒๑] พระสามาเถรีและพระจัมปานามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชาวโลกเรียกว่า ต้นซึก [๒๒] อัจจุคคตอุบาสกและสุมนอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา [๒๓] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๔๐ ศอก พระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ แผ่ออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ [๒๔] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีพระชนมายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก [๒๕] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม๑- ให้แก่บุรุษและสตรี ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก @เชิงอรรถ : @ ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม หมายถึง บอกกล่าวสอนพระพุทธพจน์ที่ประกอบด้วยองค์ ๙ โดยอรรถ @พยัญชนะ นัย เหตุ อุทาหรณ์ (มิลินฺท. ๓๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์

ทรงบันลือสีหนาท๑- แล้ว เสด็จดับขันธปรินิพพาน [๒๖] พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระดำรัสอันมีองค์ ๘ มีศีลไม่ด่างพร้อยตลอดกาล ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว๒- สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ [๒๗] พระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เขมาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ ที่เขมารามนั้น สูงถึง ๑ คาวุต ฉะนี้แล
กกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒ จบ
๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ทรงองอาจกว่านรชน เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก [๒] ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ ข้ามทางกันดาร๓- ได้แล้ว ลอยมลทิน๔- ทั้งปวงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ @เชิงอรรถ : @ บันลือสีหนาท ในที่นี้ได้แก่ บันลือสีหนาท คือ ประกาศการให้อภัย (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๐) @ ได้แก่ ยุคของพระสาวกอันตรธานไป (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๑) @ ทางกันดาร คือชาติ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๗๓) @ มลทินทั้งปวง ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๐๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๗๐๑-๗๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=214              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=8347&Z=8393                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=203              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=203&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=8078              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=203&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=8078                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :