ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

๑๒. กิเลสโคจฉกะ
๑. กิเลสทุกะ
[๑๒๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลส เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ ๑. โลภะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ ๔. มานะ ๕. ทิฏฐิ ๖. วิจิกิจฉา ๗. ถีนะ ๘. อุทธัจจะ ๙. อหิริกะ ๑๐. อโนตตัปปะ [๑๒๓๖] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความ จมอยู่ ธรรมชาติที่คร่าไป ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่ กำซาบใจธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป ธรรมชาติ ที่ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหา เหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบทั่ว ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในธรรมที่ไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา (คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความ ปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ มูลเหตุแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วง แห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหา เหมือนเชือก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้เรียกว่าโลภะ๑- [๑๒๓๗] โทสะ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ๑- [๑๒๓๘] โมหะ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลง @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๙/๔๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

ถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าโมหะ๑- [๑๒๓๙] มานะ เป็นไฉน ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา๒- ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความยกตน ความเทิดตน ความเชิดชูตนดุจธง ความ ยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามานะ๓- [๑๒๔๐] ทิฏฐิ เป็นไฉน ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็น อย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่ง ทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิอันเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นทิฏฐิ [๑๒๔๑] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถหยั่งยึดถือโดย ส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงยึดถือเป็น ยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๙/๔๔๒ @ อภิ.วิ. ๓๕/๘๓๒/๔๒๑, ขุ.ม. ๒๙/๒๑/๖๕ @ อภิ.วิ. ๓๕/๘๖๖/๔๓๐, ขุ.ม. ๒๙/๒๑/๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

[๑๒๔๒] ถีนะ เป็นไฉน ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ๑- [๑๒๔๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความที่จิตพล่านไป นี้เรียกว่าอุทธัจจะ๒- [๑๒๔๔] อหิริกะ เป็นไฉน กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่ ละอายต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอหิริกะ๓- [๑๒๔๕] อโนตตัปปะ เป็นไฉน กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่าอโนตตัปปะ๓- สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลส [๑๒๔๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมดและธาตุที่ปัจจัยไม่ ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกิเลส
๒. สังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลส @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๔๖/๓๐๖ @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๒, ๙๒๘/๔๕๑ @ อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๐/๔๓๙, ๙๓๐/๔๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

[๑๒๔๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
๓. สังกิลิฏฐทุกะ
[๑๒๔๙] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่า นี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมอง [๑๒๕๐] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๕๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกิเลส [๑๒๕๒] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลส
๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน กิเลสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส [๑๒๕๔] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ ไม่เป็นกิเลส
๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
[๑๒๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง เป็นไฉน กิเลสนั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง [๑๒๕๖] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส
๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๑๒๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็น กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ มานะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ โมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็น กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ วิจิกิจฉา ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย กิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะอโนตตัปปะ โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็น กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

อุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ โมหะ มานะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย กิเลสเพราะอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ โลภะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ มานะเป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ มานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา ถีนะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย กิเลสเพราะอุทธัจจะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอหิริกะ อหิริกะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ โลภะเป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะโลภะ โทสะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็น กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโทสะ โมหะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะ อโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะโมหะ มานะเป็นกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ กิเลสโคจฉกะ

และสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะมานะ ทิฏฐิเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะทิฏฐิ วิจิกิจฉาเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะวิจิกิจฉา ถีนะ เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุต ด้วยกิเลสเพราะถีนะ อุทธัจจะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอุทธัจจะ อหิริกะเป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสเพราะอโนตตัปปะ อโนตตัปปะเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เพราะอหิริกะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส [๑๒๕๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นกิเลสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่ เป็นกิเลส ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
[๑๒๕๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล และ อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็น อารมณ์ของกิเลส [๑๒๖๐] สภาวธรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสโคจฉกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6904&Z=7108                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=791              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=791&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11044              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=791&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11044                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en327



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :