ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

๔. อัฏฐกถากัณฑ์
ติกอัตถุทธาระ
๑. กุสลติกะ
[๑๓๘๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล [๑๓๘๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล [๑๓๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
[๑๓๘๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายวิบาก แห่งกามาวจรกุศล ๕ และฝ่ายกิริยาอย่างละ ๕ ดวง ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็น รูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศล และวิบาก เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต ด้วยสุขเวทนา [๑๓๘๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ และกายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เว้น ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทุกข- เวทนา [๑๓๘๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร- {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

จตุตถฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูปาวจร ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในจิตนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
[๑๓๙๐] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก เป็นไฉน วิบากในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก [๑๓๙๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก [๑๓๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็น วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
๔. อุปาทินนติกะ
[๑๓๙๓] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน วิบากในภูมิ ๓ และรูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน [๑๓๙๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น อารมณ์ของอุปาทาน [๑๓๙๕] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐติกะ
[๑๓๙๖] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น อารมณ์ของกิเลส [๑๓๙๗] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส [๑๓๙๘] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
๖. สวิตักกติกะ
[๑๓๙๙] สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๑ ฝ่าย วิบากแห่งอกุศล ๒ ฝ่ายกิริยา ๑๑ รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตรปฐมฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นวิตกและวิจารที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีทั้งวิตกและวิจาร [๑๔๐๐] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นไฉน ทุติยฌานในรูปาวจร ปัญจกนัยฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ทุติยฌานใน โลกุตตรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และวิบาก และวิตก เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

[๑๔๐๑] สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร เป็นไฉน ทวิปัญจวิญญาณทั้งหมด ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบากแห่งกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ฝ่ายที่เป็น โลกุตตระฝ่ายกุศล วิบาก วิจารที่เกิดขึ้นในทุติยฌาน ในปัญจกนัย รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีทั้งวิตกและวิจาร วิจารที่เกิดพร้อมกับวิตกกล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
๗. ปีติติกะ
[๑๔๐๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๕ ฝ่ายกิริยา ๕ ทุติยฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๒ และฌาน ๓ ที่เป็นโลกุตตระฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นปีติที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ [๑๔๐๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๕ ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่าย กุศล วิบาก และกิริยา ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นโลกุตตระกุศลและวิบาก เว้นสุข ที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข [๑๔๐๔] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายอกุศล ๖ ฝ่าย วิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ ฝ่ายวิบากแห่งอกุศล ๖ ฝ่ายกิริยา ๖ รูปาวจร- จตุตถฌาน ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา โลกุตตรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและวิบาก เว้นอุเบกขาที่เกิดขึ้นในจิตเหล่านี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วย สุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา สุขไม่สหรคตด้วยสุข แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วย อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ กล่าวไม่ได้ว่าสหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

๘. ทัสสนติกะ
[๑๔๐๕] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค [๑๔๐๖] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่ สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี [๑๔๐๗] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
๙. ทัสสนเหตุติกะ
[๑๔๐๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เว้น โมหะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรค [๑๔๐๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จิตตุปบาทที่ สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี มีเหตุต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี [๑๔๑๐] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค เบื้องบน ๓ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบาก ในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุ ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
๑๐. อาจยคามิติกะ
[๑๔๑๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ [๑๔๑๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึง นิพพาน [๑๔๑๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน เป็นไฉน วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
๑๑. เสกขติกะ
[๑๔๑๔] สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นของเสขบุคคล [๑๔๑๕] สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล เป็นไฉน อรหัตตผลที่เป็นผลเบื้องบน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นของอเสขบุคคล [๑๔๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๔๑๗] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ เป็นไฉน กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรอัพยากตกิริยา และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปริตตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

[๑๔๑๘] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน กุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น มหัคคตะ [๑๔๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัปปมาณะ
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๔๒๐] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน กามาวจรวิบากทั้งหมด มโนธาตุที่เป็นกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุก- กิริยาซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปริตตะเป็นอารมณ์ [๑๔๒๑] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ [๑๔๒๒] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ จิตตุปบาทที่เป็นญาณ- วิปปยุตฝ่ายกิริยา ๔ อกุศลทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มี มหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะ เป็นอารมณ์หรือมีมหัคคตะป็นอารมณ์ก็มี จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่าย กามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา มโน- วิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามี ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น อารมณ์ก็มี ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น อารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๑๔. หีนติกะ
[๑๔๒๓] สภาวธรรมชั้นต่ำ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นต่ำ [๑๔๒๔] สภาวธรรมชั้นกลาง เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นกลาง [๑๔๒๕] สภาวธรรมชั้นประณีต เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าธรรมชั้นประณีต
๑๕. มิจฉัตตติกะ
[๑๔๒๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ให้ผลไม่แน่นอนก็มี [๑๔๒๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีสภาวะชอบและ ให้ผลแน่นอน [๑๔๒๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย วิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

๑๖. มัคคารัมมณติกะ
[๑๔๒๙] สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์หรือมีมรรคเป็นอธิบดี อริยมรรค ๔ ไม่มีมรรค เป็นอารมณ์ แต่มีมรรคเป็นเหตุ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรค เป็นอธิบดีก็มี รูปาวจรจตุตถฌานที่เป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่ เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุ ที่ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี แต่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ ก็มี จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ อกุศลทั้งหมด วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๖ ฌาน ๓ ฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา วิบากแห่งจตุตถฌาน อรูปฌาน ๔ ฝ่ายกุศล วิบาก กิริยา และสามัญญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรค เป็นอธิบดี รูปและนิพพานรับรู้อารมณ์ไม่ได้
๑๗. อุปปันนติกะ
[๑๔๓๐] สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เป็นไฉน วิบากในภูมิ ๔ รูปอันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเกิดขึ้นก็มี ที่จัก เกิดแน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น กุศลในภูมิ ๔ อกุศล อัพยากตกิริยา ในภูมิ ๓ รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเกิดขึ้นก็มี ยังไม่เกิดขึ้น ก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่าจักเกิดขึ้นแน่นอน นิพพานกล่าวไม่ได้ว่าเกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอน
๑๘. อตีตติกะ
[๑๔๓๑] เว้นนิพพานแล้ว สภาวธรรมทั้งหมดที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิพพานกล่าวไม่ได้ว่าเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

๑๙. อตีตารัมมณติกะ
[๑๔๓๒] สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ [๑๔๓๓] สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มี [๑๔๓๔] สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ปัญจวิญญาณและมโนธาตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจุบันธรรมเป็น อารมณ์ จิตตุปบาทฝ่ายวิบากแห่งกามาวจรกุศล ๑๐ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย อุเบกขาฝ่ายอกุศลวิบาก มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยาซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๙ รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี และกล่าวไม่ได้ ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์หรือมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็น รูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ สภาวธรรม เหล่านี้กล่าวไม่ได้ว่ามีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๑๔๓๕] เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์และนิพพานแล้ว สภาวธรรมทั้งหมดที่ เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี รูปที่ ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์และนิพพานชื่อว่าเป็นภายนอกตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]

ติกอัตถุทธาระ

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๑๔๓๖] สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ [๑๔๓๗] สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล วิบาก และกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และสามัญญผล ๔ สภาว- ธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ เว้นรูปแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เป็นกามาวจร ทั้งหมด รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศลและกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ที่มีธรรมภายใน ตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและ ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี อากิญจัญญายตนะกล่าวไม่ได้ว่ามีธรรมภายในเป็น อารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น อารมณ์ รูปและนิพพานชื่อว่ารับรู้อารมณ์ไม่ได้
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๑๔๓๘] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้และกระทบได้ [๑๔๓๙] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ [๑๔๔๐] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ติกอัตถุทธาระ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๔๔-๓๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=66              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=7583&Z=7833                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=878              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=878&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11578              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=878&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11578                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :