ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๑๕] อริยสัจ ๔ คือ ๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) [๒๑๖] บรรดาอริยสัจ ๔ อริยสัจเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๒๑๗] สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
๓. วิปากติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก นิโรธสัจไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด วิบาก ทุกขสัจที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่ เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ อุปาทาน สัจจะ ๒ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น อารมณ์ของอุปาทาน ทุกขสัจที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กิเลสไม่ ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและ เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๖. สวิตักกติกวิสัชนา
สมุทยสัจมีทั้งวิตกและวิจาร นิโรธสัจไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มัคคสัจที่มีทั้งวิตก และวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ทุกขสัจที่มีทั้ง วิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
๗. ปีติติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา ทุกขสัจที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สมุทยสัจ ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ทุกขสัจที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สมุทยสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ทุกขสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุ ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ มัคคสัจเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน นิโรธสัจ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ทุกขสัจที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
มัคคสัจเป็นของเสขบุคคล สัจจะ ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นปริตตะ สัจจะ ๒ เป็นอัปปมาณะ ทุกขสัจที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็น มหัคคตะก็มี
๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่ มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มี ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น อารมณ์ก็มี
๑๔. หีนติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นชั้นต่ำ สัจจะ ๒ เป็นชั้นประณีต ทุกขสัจที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็น ชั้นกลางก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น มัคคสัจมีสภาวะชอบและให้ผล แน่นอน สัจจะ ๒ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง นั้นก็มี
๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี มัคคสัจไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ทุกขสัจที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอน ทุกขสัจที่เกิดขึ้น ก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
๑๘. อตีตติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่ ได้ว่า เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือเป็นปัจจุบัน
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ สัจจะ ๒ ที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบัน- ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจเป็นภายนอกตน สัจจะ ๓ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตน ก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่ มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม ภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้และกระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่ ได้แต่กระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ก็มี
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๑๘] สมุทยสัจเป็นเหตุ นิโรธสัจไม่เป็นเหตุ สัจจะ ๒ ที่เป็นเหตุก็มี ที่ ไม่เป็นเหตุก็มี สัจจะ ๒ มีเหตุ นิโรธสัจไม่มีเหตุ ทุกขสัจที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจวิปปยุตจากเหตุ ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย เหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี สมุทยสัจเป็นเหตุและมีเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมี เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจ ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สมุทยสัจเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและ สัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุต ด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย เหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย เหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี นิโรธสัจไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มัคคสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่ เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ทุกขสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๓ มีปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สัจจะ ๓ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี สัจจะ ๓ กระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ๑- สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจที่เป็นอาสวะก็มี ที่ ไม่เป็นอาสวะก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ @เชิงอรรถ : @ สัจจะ ๒ คือ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นโลกิยธรรม ส่วนอีก ๒ คือ มัคคสัจและนิโรธสัจ เป็นโลกุตตรธรรม @(อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สมุทยสัจสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะ ทุกขสัจที่สัมปยุต ด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี สมุทยสัจเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่ เป็นอาสวะก็มี สมุทยสัจเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น อาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจ ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น อาสวะก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สมุทยสัจกล่าวไม่ ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะและ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจาก อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นสังโยชน์ ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่ เป็นสังโยชน์ก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สมุทยสัจสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์ ทุกขสัจที่สัมปยุต ด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็น สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วย สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สมุทยสัจกล่าว ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่ เป็นคันถะก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะ สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก คันถะก็มี สมุทยสัจเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น คันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจ ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี สมุทยสัจเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและ สัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่ เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ที่วิปปยุต จากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น อารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นโอฆะ ฯลฯ เป็นโยคะ ฯลฯ เป็นนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นนิวรณ์ ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สมุทยสัจสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์ ทุกขสัจที่สัมปยุต ด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น นิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็น นิวรณ์ก็มี สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ทุกขสัจที่เป็น นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สมุทยสัจกล่าว ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของปรามาส๑- สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาส สมุทยสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุต จากปรามาสก็มี ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี ที่ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและ เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่ เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น ปรามาสก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สัจจะ ๒ ที่ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก ปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ ของปรามาสก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ รับรู้อารมณ์ได้ นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ทุกขสัจที่รับรู้อารมณ์ได้ ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี สัจจะ ๓ ไม่เป็นจิต ทุกขสัจที่เป็นจิตก็มี ที่ไม่เป็นจิตก็มี สัจจะ ๒ เป็นเจตสิก นิโรธสัจไม่เป็นเจตสิก ทุกขสัจที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็น เจตสิกก็มี สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยจิต นิโรธสัจวิปปยุตจากจิต ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจากจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิตก็มี @เชิงอรรถ : @ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นอารมณ์ของปรามาส เพราะเป็นโลกิยธรรม ส่วนนิโรธสัจและมัคคสัจ เป็น @โลกุตตรธรรม จึงไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส (อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สัจจะ ๒ ระคนกับจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่ ระคนกับจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิตก็มี สัจจะ ๒ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่มีจิตเป็น สมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี สัจจะ ๒ เกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่เกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่เกิด พร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี สัจจะ ๒ เป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่เป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่เป็นไปตามจิต ก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี สัจจะ ๒ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่ระคนกับจิตและ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับ จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่ระคน กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็น สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม กับจิตก็มี สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับ จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี สัจจะ ๓ เป็นภายนอก ทุกขสัจที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี สัจจะ ๓ ไม่เป็นอุปาทายรูป ทุกขสัจที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็น อุปาทายรูปก็มี สัจจะ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ทุกขสัจที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ ยึดถือก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน๑- สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่ วิปปยุตจากอุปาทานก็มี สมุทยสัจเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น อุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สมุทยสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วย อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ สัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก อุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ ของอุปาทานก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี @เชิงอรรถ : @ สัจจะ ๒ คือ นิโรธสัจและมัคคสัจ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเป็นโลกุตตรธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สมุทยสัจกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ทุกขสัจ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี สมุทยสัจสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลส ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย กิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี สมุทยสัจเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น กิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่ เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี สมุทยสัจเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น กิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจ ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ ไม่เป็นกิเลสก็มี สมุทยสัจเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสและ สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สมุทยสัจกล่าว ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น อารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น อารมณ์ของกิเลสก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณ ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี สมุทยสัจมีวิตก นิโรธสัจไม่มีวิตก สัจจะ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี สมุทยสัจมีวิจาร นิโรธสัจไม่มีวิจาร สัจจะ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี นิโรธสัจไม่มีปีติ สัจจะ ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยปีติ สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย ปีติก็มี นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยสุข สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย สุขก็มี นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยอุเบกขา สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี สมุทยสัจเป็นกามาวจร สัจจะ ๒ ไม่เป็นกามาวจร ทุกขสัจที่เป็นกามาวจร ก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี สัจจะ ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี สัจจะ ๒ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ มัคคสัจเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

มัคคสัจให้ผลแน่นอน นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น๑- สัจจะ ๒ ที่ให้ ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี สัจจะ ๒ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ๒ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สมุทยสัจเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สัจจะ ๒ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ทุกขสัจ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ นิโรธสัจนั้น ได้แก่ นิพพาน เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติของโยคีบุคคล ดังนั้น จะกล่าวว่า ให้ผลแน่นอน @หรือให้ผลไม่แน่นอนนั้นไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๘๒-๑๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=3082&Z=3323                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=223              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=223&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3117              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=223&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3117                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb4/en/thittila#pts-s215



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :