ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๐๘] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อเพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
เพียรป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๔๐๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็น บาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด [๔๑๐] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ [๔๑๑] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ ธุระด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า พยายาม [๔๑๒] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๑๓] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประคองจิต [๔๑๔] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน (ความมุ่งมั่นโดยชอบ) เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

เพียรละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[๔๑๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดแล้ว [๔๑๖] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
เพียรสร้างสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๑๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมซึ่งยังไม่เกิด ให้เกิด [๔๑๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
เพียรรักษาสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๑๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว [๔๒๐] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้น เป็นความไม่เลอะเลือน ความไม่เลอะเลือนอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความเจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์ [๔๒๑] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุทำฉันทะให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ [๔๒๒] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า พยายาม [๔๒๓] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๔๒๔] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประคองจิต [๔๒๕] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน [๔๒๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=6592&Z=6734                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=483              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=483&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7684              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=483&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7684                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb8/en/thittila#pts-p-pi211



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :