ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑. เอกกมาติกา

๑๖. ญาณวิภังค์
๑. เอกกมาติกา
[๗๕๑] ญาณวัตถุหมวดละ ๑ คือ (๑) วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้ อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น อารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ- มรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็น ของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผล ไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ (๗๖๑)* (๒) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น (๗๖๒) (๓) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน (๗๖๒) (๔) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก (๗๖๒) (๕) วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ (๗๖๒) (๖) วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน (๗๖๒) (๗) วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน (๗๖๓) (๘) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ (๗๖๔) (๙) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ (๗๖๔) @เชิงอรรถ : @* ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงข้อที่จะขยายในตอนว่าด้วยนิทเทส เช่น (๗๖๑) ก็จะอยู่ในหน้า ๔๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑. เอกกมาติกา

(๑๐) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน (๗๖๔) (๑๑) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน (๗๖๔) (๑๒) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน (๗๖๕) (๑๓) วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ (๗๖๖) (๑๔) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป (๗๖๖) (๑๕) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๑๖) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๑๗) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไรๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๑๘) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๑๙) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๐) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๑) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับแห่ง วิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๒) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๓) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ แม้ต่อจากลำดับแห่ง วิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๔) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๕) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๖) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖) (๒๗) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖) ปัญญาแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามที่เป็นจริง ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มีด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๒. ทุกมาติกา

๒. ทุกมาติกา
[๗๕๒] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ (๑) โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา (๗๖๗) (๒) เกนจิวิญเญยยปัญญา นเกนจิวิญเญยยปัญญา (๗๖๗) (๓) อาสวปัญญา อนาสวปัญญา (๗๖๗) (๔) อาสววิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๗๖๗) (๕) สัญโญชนิยปัญญา อสัญโญชนิยปัญญา (๗๖๗) (๖) สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิย- ปัญญา (๗๖๗) (๗) คันถนิยปัญญา อคันถนิยปัญญา (๗๖๗) (๘) คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๗๖๗) (๙) โอฆนิยปัญญา อโนฆนิยปัญญา (๗๖๗) (๑๐) โอฆวิปปยุตตโอฆนิยปัญญา โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๗๖๗) (๑๑) โยคนิยปัญญา อโยคนิยปัญญา (๗๖๗) (๑๒) โยควิปปยุตตโยคนิยปัญญา โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๗๖๗) (๑๓) นีวรณิยปัญญา อนีวรณิยปัญญา (๗๖๗) (๑๔) นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา (๗๖๗) (๑๕) ปรามัฏฐปัญญา อปรามัฏฐปัญญา (๗๖๗) (๑๖) ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐปัญญา (๗๖๗) (๑๗) อุปาทินนปัญญา อนุปาทินนปัญญา (๗๖๗) (๑๘) อุปาทานิยปัญญา อนุปาทานิยปัญญา (๗๖๗) (๑๙) อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิย- ปัญญา (๗๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๒๐) สังกิเลสิกปัญญา อสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗) (๒๑) กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกปัญญา กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗) (๒๒) สวิตักกปัญญา อวิตักกปัญญา (๗๖๗) (๒๓) สวิจารปัญญา อวิจารปัญญา (๗๖๗) (๒๔) สัปปีติกปัญญา อัปปีติกปัญญา (๗๖๗) (๒๕) ปีติสหคตปัญญา นปีติสหคตปัญญา (๗๖๗) (๒๖) สุขสหคตปัญญา นสุขสหคตปัญญา (๗๖๗) (๒๗) อุเปกขาสหคตปัญญา นอุเปกขาสหคตปัญญา (๗๖๗) (๒๘) กามาวจรปัญญา นกามาวจรปัญญา (๗๖๗) (๒๙) รูปาวจรปัญญา นรูปาวจรปัญญา (๗๖๗) (๓๐) อรูปาวจรปัญญา นอรูปาวจรปัญญา (๗๖๗) (๓๑) ปริยาปันนปัญญา อปริยาปันนปัญญา (๗๖๗) (๓๒) นิยยานิกปัญญา อนิยยานิกปัญญา (๗๖๗) (๓๓) นิยตปัญญา อนิยตปัญญา (๗๖๗) (๓๔) สอุตตรปัญญา อนุตตรปัญญา (๗๖๗) (๓๕) อัตถชาปิกปัญญา ชาปิตัตถปัญญา (๗๖๗) ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้
๓. ติกมาติกา
[๗๕๓] ญาณวัตถุหมวดละ ๓ คือ (๑) จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๘) (๒) ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๙) (๓) อธิสีลปัญญา อธิจิตตปัญญา อธิปัญญปัญญา (๗๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๔) อายโกศล (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ) อปายโกศล (ความเป็นผู้ ฉลาดในความเสื่อม) อุปายโกศล ( ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย) (๗๗๑) (๕) วิปากปัญญา วิปากธัมมธัมมปัญญา เนววิปากนวิปากธัมมธัมม- ปัญญา (๗๗๒) (๖) อุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินน- อนุปาทานิยปัญญา (๗๗๓) (๗) สวิตักกสวิจารปัญญา อวิตักกวิจารมัตตปัญญา อวิตักกอวิจารปัญญา (๗๗๔) (๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา อุเปกขาสหคตปัญญา (๗๗๕) (๙) อาจยคามินีปัญญา อปจยคามินีปัญญา เนวาจยคามินาปจยคามินี- ปัญญา (๗๗๖) (๑๐) เสกขปัญญา อเสกขปัญญา เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๗๗๗) (๑๑) ปริตตปัญญา มหัคคตปัญญา อัปปมาณปัญญา (๗๗๘) (๑๒) ปริตตารัมมณปัญญา (๗๗๙) มหัคคตารัมมณปัญญา (๗๘๐) อัปปมาณารัมมณปัญญา (๗๘๑) (๑๓) มัคคารัมมณปัญญา มัคคเหตุกปัญญา (๗๘๒) มัคคาธิปตินีปัญญา (๗๘๓) (๑๔) อุปปันนปัญญา อนุปปันนปัญญา อุปปาทินีปัญญา (๗๘๔) (๑๕) อตีตปัญญา อนาคตปัญญา ปัจจุปปันนปัญญา (๗๘๕) (๑๖) อตีตารัมมณปัญญา (๗๘๖) อนาคตารัมมณปัญญา (๗๘๗) ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา (๗๘๘) (๑๗) อัชฌัตตปัญญา พหิทธปัญญา อัชฌัตตพหิทธปัญญา (๗๘๙) (๑๘) อัชฌัตตารัมมณปัญญา พหิทธารัมมณปัญญา อัชฌัตตพหิทธา- รัมมณปัญญา (๗๙๐) (๑๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่ เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๒๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๒๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี (๒๒) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี (๒๓) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี (๒๔) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น อัปปมาณะก็มี (๒๕) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี (๒๖) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี (๒๗) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่ นอนก็มี (๒๘) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๒๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี (๓๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น ภายในตนและภายนอกตนก็มี (๓๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๓๒) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๓๓) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๓๔) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี (๓๕) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคล ก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี (๓๖) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น แน่นอนก็มี (๓๗) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๓๘) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่ เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี (๓๙) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๔๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือ แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๔๑) อวิตักกอวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี (๔๒) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๔๓) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี (๔๔) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี (๔๕) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี (๔๖) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่ นอนก็มี (๔๗) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๔๘) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี (๔๙) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น ภายในตนและภายนอกตนก็มี (๕๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภาย นอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี (๕๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๕๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๕๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๕๔) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี (๕๕) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี (๕๖) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี (๕๗) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี (๕๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี (๕๙) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่ จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี (๖๐) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๖๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี (๖๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี (๖๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอก ตนเป็นอารมณ์ก็มี (๖๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่ เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๖๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๖๖) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี (๖๗) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี (๖๘) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น อัปปมาณะก็มี (๖๙) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี (๗๐) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี (๗๑) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่ นอนก็มี (๗๒) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี (๗๓) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี (๗๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น ภายในตนและภายนอกตนก็มี (๗๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๔. จตุกกมาติกา

๔. จตุกกมาติกา
[๗๕๔] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ (๑) กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิ- ญาณ (๗๙๓) (๒) ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทาญาณ (๗๙๔) (๓) กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันน- ปัญญา (๗๙๕) (๔) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณ (๗๙๖) (๕) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย- ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอาจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญา (๗๙๗) (๖) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย- ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญา ก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา ก็มี ที่เป็นปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาปฏิเวธปัญญา เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญาก็มี (๗๙๘) (๗) หานภาคินีปัญญา ฐิติภาคินีปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธ- ภาคินีปัญญา (๗๙๙) (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ (๘๐๐) (๙) ปฏิปทา ๔ (๘๐๑) (๑๐) อารมณ์ ๔ (๘๐๒) (๑๑) ความรู้ในชรามรณะ ความรู้ในชรามรณสมุทัย ความรู้ในชรามรณนิโรธ ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๒) (๑๒) ความรู้ในชาติ ฯลฯ (๘๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๖. ฉักกมาติกา

(๑๓) ความรู้ในภพ ฯลฯ (๘๐๓) (๑๔) ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ (๘๐๓) (๑๕) ความรู้ในตัณหา ฯลฯ (๘๐๓) (๑๖) ความรู้ในเวทนา ฯลฯ (๘๐๓) (๑๗) ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ (๘๐๓) (๑๘) ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ (๘๐๓) (๑๙) ความรู้ในนามรูป ฯลฯ (๘๐๓) (๒๐) ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ (๘๐๓) (๒๑) ความรู้ในสังขาร (๘๐๓) (๒๒) ความรู้ในสังขารสมุทัย (๘๐๓) (๒๓) ความรู้ในสังขารนิโรธ (๘๐๓) (๒๔) ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๓) ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้
๕. ปัญจกมาติกา
[๗๕๕] ญาณวัตถุหมวดละ ๕ คือ (๑) สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๘๐๔) (๒) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ (๘๐๔) ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้
๖. ฉักกมาติกา
[๗๕๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๖ คือ (๑) ปัญญาในอภิญญา ๖ (๘๐๕) ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกมาติกา

๗. สัตตกมาติกา
[๗๕๗] ญาณวัตถุหมวดละ ๗ คือ (๑) ญาณวัตถุ ๗๗ (๘๐๖) ญาณวัตถุหมวดละ ๗ มีด้วยประการฉะนี้
๘. อัฏฐกมาติกา
[๗๕๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๘ คือ (๑) ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ (๘๐๗) ญาณวัตถุหมวดละ ๘ มีด้วยประการฉะนี้
๙. นวกมาติกา
[๗๕๙] ญาณวัตถุหมวดละ ๙ คือ (๑) ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (๘๐๘) ญาณวัตถุหมวดละ ๙ มีด้วยประการฉะนี้
๑๐. ทสกมาติกา
[๗๖๐] ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ คือ พระตถาคตทรงประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของ พระตถาคต กำลัง ๑๐ เป็นไฉน กำลัง ๑๐ คือ ๑. พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและ ธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ องค์ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกมาติกา

โดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน บริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๐๙) ๒. พระตถาคตทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบ วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็น จริงโดยฐานะ โดยเหตุ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ พรหมจักร (๘๑๐) ๓. พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ องค์ทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ พระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๑๑) ๔. พระตถาคตทรงทราบโลก๑- ที่เป็นอเนกธาตุ๒- และนานาธาตุ๓- ตามความ เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้ว จึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหม- จักร (๘๑๒) ๕. พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กันตามความ เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างๆ กันตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ พรหมจักร (๘๑๓) @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธายตนโลกธาตุ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙) @ อเนกธาตุ คือธาตุจำนวนมากด้วยจักขุธาตุหรือกามธาตุเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙) @ นานาธาตุ คือธาตุหลายประการ เพราะธาตุเหล่านั้นมีลักษณะต่างๆ กัน (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑๐. ทสกมาติกา

๖. พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และ บุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความแก่กล้า และไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และบุคคลเหล่าอื่น๑- ตามความ เป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะ อันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๖) ๗. พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจาก ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้นตามความเป็น จริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้น ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัย แล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ พรหมจักร (๗) ๘. พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง แม้ ข้อที่พระองค์ทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง นี้ก็ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอัน ประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘) ๙. พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็น จริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณ ฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๙) ๑๐. พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ ทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน บริษัท ประกาศพรหมจักร (๑๐) @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วย กำลังเหล่านี้แล้วจึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ พรหมจักร ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ มีด้วยประการฉะนี้
มาติกา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๘๑-๔๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=10597&Z=10828                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=795              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=795&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=10004              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=795&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=10004                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb16/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :