ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๓. เตรสมนัย]

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

๑๓. เตรสมนัย
๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส
[๔๔๘] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับรูปขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๔๙] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ นามรูปที่เกิดเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย อสัญญาภพ เอกโวการภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๕๐] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพ อิทธิบาท สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ไม่มีการสัมปยุต วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๓. เตรสมนัย]

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

[๔๕๑] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรมที่เป็นอกุศล สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สภาว- ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สภาวธรรมที่เป็นวิบาก สภาว- ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา และทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่กิเลส ทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้ เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ สภาว- ธรรมที่สหรคตด้วยสุข สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรม ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่ เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ สภาวธรรมที่ มีปริตตะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ สภาวธรรม ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมชั้นต่ำ สภาวธรรมชั้นประณีต สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบ และให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มี มรรคเป็นเหตุ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี สภาวธรรมที่มีอดีต- ธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรม ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรม ภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีเหตุ สภาวธรรม ที่สัมปยุตด้วยเหตุ สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๓. เตรสมนัย]

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ไม่มีการสัมปยุต วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๕๒] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่เป็นรูป สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๕๓] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ สภาว- ธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่วิปปยุต จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ ของสังโยชน์ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สภาวธรรมที่ไม่เป็น อารมณ์ของโอฆะ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ สภาวธรรมที่ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ไม่มีการสัมปยุต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๓. เตรสมนัย]

๑๓. อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๕๔] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต สภาวธรรมที่เป็นไป ตามจิต สภาวธรรมที่เป็นภายนอก สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน [๔๕๕] สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอุปาทาน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็น อุปาทาน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของ อุปาทาน สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่กิเลสไม่ ทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส สภาวธรรมที่กิเลส ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่ เป็นกิเลส สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่ต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่มีวิตก สภาวธรรมที่มีวิจาร สภาวธรรมที่มีปีติ สภาวธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๓. เตรสมนัย]

รวมบทธรรมในเตรสมนัย ๒๒ บท

ที่สหรคตด้วยปีติ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข สภาวธรรมที่สหรคต ด้วยอุเบกขา สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ไม่มีการสัมปยุต วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร วิปปยุตจากขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุ ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วน
รวมบทธรรมในเตรสมนัย ๒๒ บท
รูป ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ นามรูป ๑ ภพ ๒ (อสัญญีภพและเอกโวการภพ) ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ บทที่เป็นรูป ๑ อนารัมมณบท ๑ โนจิตตบท ๑ จิตตวิปปยุตตบท ๑ จิตตวิสังสัฏฐบท ๑ จิตตสมุฏฐานบท ๑ จิตตสหภูบท ๑ จิตตานุปริวัตติบท ๑ พาหิรบท ๑ อุปาทาบท ๑ นัย ๒๒ บทนี้เป็นวิสัยแห่งปุจฉาและวิสัชนา
อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทสที่ ๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=1892&Z=1965                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=444              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=444&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=545              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=444&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=545                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :