ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา

๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
ว่าด้วยจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
[๕๖๐] สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. จิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า “จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด ก็หรือว่าหากจิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมี อนาคตธรรมเป็นอารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์” จึงผิด สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจปรารภอนาคตมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕) @ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา

สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค]

๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)

[๕๖๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. อารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่มีมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากอารมณ์ที่เป็นอดีตธรรมและอนาคตธรรมไม่มี ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้ อารมณ์ไม่ได้” ฯลฯ
อนาคตารัมมณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๑๑-๖๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=110              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13402&Z=13450                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1345              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1345&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1345&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv9.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :