บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕) ว่าด้วยอวิญญัติเป็นความทุศีล [๖๐๓] สก. อวิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. อวิญญัติเป็นปาณาติบาตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิญญัติเป็นอทินนาทานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕) @๒ เพราะมีความเห็นว่า การทำบาปโดยไม่ได้ตั้งใจและการทำบาปตามคำสั่ง เช่น การทำปาณาติบาตที่ครบองค์ @จัดเป็นอวิญญัติ อวิญญัติเช่นนี้ เป็นความทุศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. อวิญญัติเป็นกาเมสุมิจฉาจารใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิญญัติเป็นมุสาวาทใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิญญัติเป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว)แล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป ทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่๒- สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะปรวาทีเข้าใจว่า ในขณะให้ทาน บาปจะไม่เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕) @๒ เพราะปรวาทีหมายเอาบาปที่ทำโดยไม่เจตนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรมแล้วถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้ ต้อนรับผู้ควรต้อนรับ ทำอัญชลี แก่ผู้ควรทำอัญชลี ทำสามีจิกรรมแก่ผู้ควรทำสามีจิกรรม ให้อาสนะแก่ผู้ควรให้ อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ควรให้ทาง บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ [๖๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า อวิญญัติเป็นความทุศีล ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรมมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว) ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า อวิญญัติเป็นความทุศีลอวิญญัตติทุสลีลยันติกถา จบ ทสมวรรค จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๕๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. นิโรธกถา ๒. รูปังมัคโคติกถา ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา ๕. สาโภคาติกถา ๖. ทวีหิสีเลหิกถา ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา ๙. สมาทานเหตุกถา ๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถาทุติยปัณณาสก์ จบ รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ วรรคที่ ๖ เริ่มด้วยนิยามกถา วรรคที่ ๗ เริ่มด้วยสังคหิตกถา วรรคที่ ๘ เริ่มด้วยฉคติกถา วรรคที่ ๙ เริ่มด้วยอานิสังสทัสสาวีกถา วรรคที่ ๑๐ เริ่มด้วยนิโรธกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๕๖-๖๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=126 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=14369&Z=14439 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1430 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1430&items=2 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5743 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1430&items=2 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5743 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv10.11/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]