ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

๑๑. เอกาทสมวรรค
๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
ว่าด้วยอนุสัย ๓ เรื่อง๑-
[๖๐๕] สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก อัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ๓ เรื่อง คือ (๑) เรื่องอนุสัยเป็นอัพยากฤต (๒) เรื่องอนุสัยเป็นอเหตุกะ (๓) เรื่องอนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕-๖๑๓/๒๕๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖) @ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยไม่เป็นอกุศล แต่เป็นอัพยากฤต เป็นอเหตุกะ เป็นสภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต @ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยเป็นอกุศล เป็นสเหตุกะ และเป็นสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มานานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มานานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอัพยากฤต ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น อัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น อกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภวราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ภวราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีอนุสัย” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอัพยากฤต ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีราคะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอัพยากฤต [๖๐๗] สก. อนุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. กามราคานุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอเหตุกะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสเหตุกะ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอเหตุกะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีอนุสัย” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

ปร. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอเหตุกะ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีราคะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอเหตุกะ [๖๐๙] สก. อนุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

[๖๑๐] สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในขันธ์ไหน ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์ สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนกามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต จากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๑๑] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๑๒] สก. อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัย นับเนื่องในขันธ์ไหน ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์ สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)

สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนอวิชชานับ เนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต จากจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๑๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัย วิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีอนุสัย” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๔. ญาณกถา (๑๐๙)

ปร. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงวิปปยุตจากจิต ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีราคะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ดังนั้น ราคะจึงวิปปยุตจากจิต
ติสโสปิอนุสยกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๖๑-๖๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=127              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=14440&Z=14659                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1432              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1432&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5758              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1432&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5758                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv11.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :