ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. ชีวิตาโวโรปนกถา (๑๒๓)
ว่าด้วยการปลงชีวิต
[๖๔๘] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๓- อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม ปร.๔- ใช่๕- @เชิงอรรถ : @ บุคคลผู้เอกพีชี หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว ไม่มีทาง @ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียวก็บรรลุ @อรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓/๕๔), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๓๓/๑๕๔ @ เพราะมีความเห็นว่า ไม่มีกฎตายตัวว่า จะต้องเกิดครั้งเดียวจึงจะบรรลุอรหัตตผล อาจบรรลุในชาตินั้นก็ได้ @ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งต่างกับความเห็นของปรวาทีที่เห็นว่า ต้อง @เกิดอีก ๑ ภพแน่นอน (ตีความตามพยัญชนะ) @ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ซึ่งมีชื่อว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ” บ้าง “ผู้ @มาสู่พระสัทธรรม” บ้าง “ผู้เห็นพระสัทธรรม” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ” บ้าง @“ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ” บ้าง “ผู้เข้าถึงกระแสธรรม” บ้าง “ผู้มีปัญญาแทงตลอด” บ้าง @“ผู้ยืนจรดประตูอมตะ” บ้าง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๘/๒๖๕) @ เพราะมีความเห็นว่า แม้เป็นพระโสดาบันอยู่ก็อาจทำปาณาติบาตได้ ซึ่งต่างกับความเห็น @ของสกวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันจะไม่ทำปาณาติบาตโดยเจตนาอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๘-๖๔๙/๒๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๘. ชีวิตาโวโรปนกถา (๑๒๓)

สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ อาจจงใจปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ใน พระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้” บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขามิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้” [๖๔๙] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค]

๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)

สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะรด ถ่มน้ำลาย ลงที่พระพุทธสถูป ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย๑- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน น้ำในมหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจ ปลงชีวิตสัตว์ได้”
ชีวิตาโวโรปนกถา จบ
๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)
ว่าด้วยทุคติ
[๖๕๐] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติ๓- ได้ใช่ไหม ปร.๔- ใช่ @เชิงอรรถ : @ ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย ในที่นี้หมายถึงการเดินเวียนซ้ายรอบพระเจดีย์ เป็นอุตราวัฏ(ทวนเข็ม @นาฬิกา) ไม่เดินเวียนขวา ที่เรียกว่ากระทำประทักษิณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๙/๒๖๕) @ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๒-๒๘๕, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, @ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๐-๒๖๘ @ ทุคติ โดยทั่วไปมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) เป็นชื่อภพภูมิชั้นต่ำ เช่น สัตว์ดิรัจฉาน (๒) เป็นชื่อตัณหา @คือ ความยินดี รักใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ของสัตว์ในทุคติ แต่ฝ่ายปรวาทีถือเอาความหมายที่ ๑ @เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๐-๖๕๒/๒๖๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๐-๖๕๒/๒๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๐๓-๗๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=141              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15338&Z=15376                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1502              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1502&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5967              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1502&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5967                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv12.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :