ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)

๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี
[๖๗๑] สก. บุคคลผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานมีฌานเป็น อารมณ์ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความยินดีในฌานสัมปยุตด้วยจิต ฌานก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความยินดีในฌานเป็นอกุศล แต่ฌานเป็นกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๑-๖๗๓/๒๗๐) @ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าฌานสมาบัติ ตัณหาก็สามารถเกิดได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ @สกวาทีที่เห็นว่า ในขณะเข้าฌานสมาบัติกิเลสตัณหาไม่สามารถเกิดได้ ส่วนความยินดีในขณะเข้าฌาน- @สมาบัติ หมายเอาความยินดีที่เกิดขึ้นหลังจากที่เข้าฌานสมาบัติแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๑-๖๗๓/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)

สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๖๗๒] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้” [๖๗๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานมี ฌานเป็นอารมณ์” ใช่ไหม่ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๘. อสาตราคกถา (๑๓๓)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ เธอยินดีในปฐมฌานนั้น ติดใจ ปฐมฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยฌานนั้น เพราะวิตกและวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอยินดีใน จตุตถฌานนั้น ติดใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานจึงมีฌานเป็นอารมณ์
สมาปันโนอัสสาเทติกถา จบ
๘. อสาตราคกถา (๑๓๓)
ว่าด้วยความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ
[๖๗๔] สก. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในทุกข์ บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาทุกข์ ยึดทุกข์ ดำรงอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในสุข บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข ยึดสุข ดำรงอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๓/๑๘๗-๑๘๙ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๔/๒๗๑) @ เพราะมีความเห็นว่า ความยินดีแม้ในทุกขเวทนาก็มีได้ โดยอ้างพระสูตรที่ว่า ‘โส เอวํ อนุโรธวิโรธํ สมาปนฺนํ’ @ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความยินดีที่เกิดจากทุกขเวทนาโดยตรงไม่มี แต่ที่อาศัยทุกขเวทนา @เกิดมีอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๔/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๒๒-๗๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=150              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15702&Z=15751                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1529              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1529&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6096              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1529&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6096                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv13.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :