บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๑๓. ปุริสการานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงผู้กระทำ [๑๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ [๑๒๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำทั้ง ๒ นั้น ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะปรวาทีมุ่งจะถามให้สกวาทียอมรับว่า อัตตามีอยู่จริง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๒) @๒ เพราะปรวาทีเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะมีความผิด ๒ ประการ คือ (๑) เท่ากับยอมรับว่ามีผู้สร้างอยู่จริง @(๒) เท่ากับยอมรับลัทธิพระเจ้าสร้างโลก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๒๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำนั้น ได้ใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี แก่บุคคลผู้บันดาล ผู้สั่งให้บันดาลซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา๒- นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ บุคคลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๗] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ นิพพานได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะปรวาทียอมรับว่ามีผู้สร้างคือบิดามารดา ซึ่งทำหน้าที่ให้เกิด ตั้งชื่อ และเลี้ยงดู และยอมรับว่ามีผู้สั่ง @ให้สร้าง คือ กัลยาณมิตร หรือ ครู อาจารย์ ที่ให้ศึกษาศิลปวิทยา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓) @๒ บุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา คือ ชั้นที่ ๑ ได้แก่ ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรม, ชั้นที่ ๒ ได้แก่ ผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งผู้ทำ @ผู้สั่งให้ทำกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๕/๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพีได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ มหาปฐพี ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาสมุทรได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ มหาสมุทรได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้ภูเขาสิเนรุได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ภูเขาสิเนรุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้น้ำได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำน้ำได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้ไฟได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำไฟได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้ลมได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วเป็นคน ละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ [๑๓๖] ปร. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ เพราะปรวาทีกลัวว่าจะตรงกับสักกายทิฏฐิที่ว่า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓๕/๑๕๓, @ม.อุ. (แปล) ๑๔/๘๗/๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย(ได้รับ)วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๙] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๐] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๔๑] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๒] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและ กรรมชั่วเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุขได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๔] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุขได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๔}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพย- สุขได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. ทิพยสุขกับบุคคลผู้เสวยทิพยสุขเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๑] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขนั้นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย สุขของบุคคลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๔] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๕] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข ของมนุษย์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๖] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข ของมนุษย์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขของมนุษย์กับบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๗] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๕๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวย ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๕๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะก็ไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๐] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๑] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๒] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๖๓] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกข์ที่มีในอบายกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๔] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่ มีในนรกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยทุกข์ ที่มีในนรกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๖๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๖๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทุกข์ที่มีในนรกกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๗๑] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ๑- ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๓] สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๕] สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ. ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๑/๑๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
[๑๗๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ทั้งทำและ เสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๗] สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สุขและทุกข์เกิดขึ้นเองจะว่ามีตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็น ตัวการก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็นคน เดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและ เสวย บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็น คนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและ ทุกข์ทั้งมีตนเองและผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่ามีตนเองเป็นตัวการ ก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๐] ปร. กรรมมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้ทำกรรมมีอยู่ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๑] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๒] สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี แก่บุคคลผู้ทำซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๓] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๔] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๕] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๖] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมกับบุคคลผู้ทำกรรมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๗] ปร. วิบากมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๘] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๙] สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๔}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]
๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๐] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๑] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๙๒] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิบากเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอย่างหนึ่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)กัลยาณวรรค๑- ที่ ๑ จบ @เชิงอรรถ : @๑ คำว่า กัลยาณวรรค นี้เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของปุริสการานุโยคะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๒/๑๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๙-๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=17 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=1364&Z=1732 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=122 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=122&items=43 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3407 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=122&items=43 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3407 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pc43
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]