ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๕. มัคคกถา (๑๙๘)

๕. มัคคกถา (๑๙๘)
ว่าด้วยมรรค
[๘๗๒] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้แล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “มรรคมีองค์ ๕” สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรม วิราคธรรม๓- ประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า๔- พระตถาคตผู้มีพระจักษุ๕- ประเสริฐที่สุด” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓) @ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อว่าโดยตรงแล้ว มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้นมิใช่มีองค์ ๘ โดยอ้างว่า สัมมาวาจา @สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นจิตตวิปปยุต (ไม่ประกอบด้วยจิต)จึงไม่จัดเป็นมรรค เป็นเพียงวิญญัติรูป @ไม่ใช่เจตสิก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มรรคทั้ง ๓ ดังกล่าวมาเป็นมรรค สัมปยุตด้วยจิต @เป็นเจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓) @ วิราคธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๙) @ สัตว์สองเท้า หมายถึงมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๙) @ จักษุ หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๑๓/๑๗), ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๓/๑๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๕. มัคคกถา (๑๙๘)

สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘ [๘๗๓] สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาอาชีวะ นั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่ เป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๕. มัคคกถา (๑๙๘)

สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะ นั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๗๔] ปร. อริยมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของ บุคคลนั้นจัดว่าบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อเป็นอย่างนี้อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๕ [๘๗๕] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มี อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔ ๒- ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๓๑/๔๙๐-๔๙๑ @ สมณะที่ ๑-๒-๓-๔ หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ @(ที.ม.อ. ๒๑๔/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๖. ญาณกถา (๑๙๙)

สมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรค มีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
มัคคกถา จบ
๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ว่าด้วยญาณ
[๘๗๖] สก. ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๔/๑๖๒ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓) @ เพราะมีความเห็นว่า ในมัคคจิตแต่ละดวง มีญาณที่ทำหน้าที่รับรู้ ๑๒ ประการ (ในมัคคจิตหนึ่งๆ มี @ ญาณ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวมเป็น ๑๒ ญาณ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @ในมัคคจิตแต่ละดวง มีสัจจญาณอย่างเดียว จึงไม่ยอมรับว่ามี ๑๒ ญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๐๒-๙๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=216              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=19385&Z=19457                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1826              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1826&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7042              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1826&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7042                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv20.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :