บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๗. ธัมมกถา (๒๐๖) ว่าด้วยสภาวธรรม [๘๘๗] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗) @๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากรูป มีสภาวะเป็นรูปแน่นอน ไม่มีสภาวะเป็นเวทนา เป็นต้น ฉะนั้น ธรรม @ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนตามสภาวะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมกับสภาวะของ @ธรรมเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อธรรมไม่แน่นอน สภาวะของธรรมก็ไม่แน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]
๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิด และแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน สก. รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๑๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค]
๘. กัมมกถา (๒๐๗)
[๘๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. รูปเป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขารใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น รูปจึงเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าแปรผันไป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็น วิญญาณธัมมกถา จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๙๑๘-๙๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=224 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=19698&Z=19742 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1847 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1847&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7146 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1847&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7146 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv21.7/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]