บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘) ว่าด้วยการบรรลุธรรมโดยลำดับ [๓๓๙] สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่๔- สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕- ฯลฯ สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกวาท นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) @๒ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุอรหัตตผลเกิดจากการละกิเลสได้โดยลำดับด้วยญาณ ๑๖ ประการ โดย @แบ่งเป็นมรรคละ ๔ ประการ เช่น ผู้บรรลุโสดาปัตติผลย่อมละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นทุกข์(ทุกขญาณ) @ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นสมุทัย(สมุทยญาณ) ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นนิโรธ(นิโรธญาณ) และ @ละกิเลสก็บางอย่างด้วยการเห็นมรรค(มัคคญาณ) การบรรลุสกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล @ก็มีนัยเดียวกันนี้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) @๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับ เกรงจะมีผู้เข้าใจผิดว่า มรรคเดียวทำให้บรรลุผลหลายอย่าง @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) @๔ เพราะมีความเห็นว่า โสดาปัตติมรรคประกอบด้วยญาณ ๔ ประการ คือ ทุกขญาณ สมุทยญาณ นิโรธญาณ @และมัคคญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) @๕ เพราะมีความเห็นว่า เขาปรารถนาโสดาปัตติผลอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำให้แจ้งอนาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้โดยลำดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการ เห็นทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน๑- สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเสสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกาย๒- อยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ @เชิงอรรถ : @๑ ๑ ใน ๔ ส่วน หมายถึงกิเลส ๑ ส่วนใน ๔ ส่วนที่ละได้ด้วยญาณหนึ่งในจำนวน ๔ ญาณของแต่ละมรรค @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖) @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๗๔ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบด้วยศีลที่ พระอริยะชอบใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๑] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ปร. ละกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกัน กับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๑๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็น พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร- ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละ กิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๓] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธง คือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพ้น ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละ สมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๔] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึง ยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับ ว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม รับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นนิโรธสัจแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม รับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเห็นทุกข์ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า เป็นผู้ปฏิบัติ ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การเห็นนิโรธ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๕] ปร. ครั้นเห็นทุกข์แล้วก็เป็นอันเห็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ครั้นเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ครั้นเห็นจักขายตนะโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นอายตนะ ๑๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๔}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ครั้นเห็นจักขุธาตุโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นธาตุ ๑๘ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ครั้นเห็นจักขุนทรีย์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็น อินทรีย์ ๒๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ ๒๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔ ๑- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๘ ๒- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๘ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ มีทุกขญาณ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) @๒ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๕}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๑๒ ๑- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔ ๒- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๔๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๗๗ ๓- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติผลมี ๗๗ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ หมายถึงญาณในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีองค์ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) @๒ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชราและมรณะ ญาณในชรา มรณะ และ @สมุทัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) @๓ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง @อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยมีการ ศึกษาไปโดยลำดับ๑- มีการบำเพ็ญไปโดยลำดับ๒- มีการปฏิบัติไปโดยลำดับ๓- ไม่ใช่ มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำลงไปโดยลำดับ ลาดลงไป โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที๔- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อยๆ ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง๕- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ สก. ท่านยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑ การศึกษาไปโดยลำดับ หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @๒ การบำเพ็ญไปโดยลำดับ หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @๓ การปฏิบัติไปโดยลำดับ หมายถึงอนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ @โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔) @๔ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙-๒๐/๒๔๘-๒๕๕ @๕ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. พระสูตรที่ว่า ท่านพระควัมปติเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ผู้มี อายุทั้งหลาย ผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า พร้อมกับการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ฯลฯ และเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำอภิฐาน ๖ มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรม- จักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิด @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]
๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า มีการบรรลุธรรมโดยลำดับอนุปุพพาภิสมยกถา จบ ๑๐. โวหารกถา (๑๙) ว่าด้วยพระโวหาร [๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ @๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) @๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๘๗-๑๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๒๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=38 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=6921&Z=7203 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=648 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=648&items=23 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4179 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=648&items=23 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4179 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.9/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]