ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ว่าด้วยบุคคลที่ ๘
[๓๖๘] สก. บุคคลที่ ๘ ๑- ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ บุคคลที่ ๘ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕) @ เพราะมีความเห็นว่า ก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด อนุโลมญาณและโคตรภูญาณได้ละทิฏฐิและวิจิกิจฉา @ไปแล้ว ดังนั้น ในขณะโสดาปัตติมรรคจะบอกว่ากำลังละทิฏฐิและวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่จะต้องบอกว่าได้ละ @ทิฏฐิและวิจิกิจฉาไปแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ฯลฯ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วย กายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัยได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๖๙] สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐาน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ ทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรค ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญ โพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

ปร. ทิฏฐิปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม สก. จักไม่เกิดขึ้น ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ ทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม สก. จักไม่เกิดขึ้น ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ วิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐานุสัยจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับ ว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสจักไม่เกิดขึ้น แก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)

สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล” จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล” จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัฏฐมกกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=7946&Z=8066                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=763              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=763&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4380              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=763&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4380                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :