ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[๓๗๓] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม๑- อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์) ได้ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ ๑ ใน @อภิญญา ๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสจักษุมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ โคจร ของทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

[๓๗๔] สก. มังสจักษุที่ธรรม๑- อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสจักษุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรม๒- อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุ(ตาปัญญา)ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ” มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกามาวจรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)

สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น” สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่างนี้แล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะได้ปัญญาจักษุ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
ทิพพจักขุกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๖๑/๔๑๖-๔๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8199&Z=8274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=795              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=795&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4410              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=795&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4410                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.7/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :