ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ว่าด้วยการปฏิสนธิ
[๓๘๘] สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓- ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑) @ เพราะมุ่งหมายเอาผู้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑) @ เพราะมีความเห็นว่า จิตขณะปฏิสนธิของผู้จะบรรลุโสดาบันยังเป็นโลกิยจิตอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๒. อุปปัตติกถา (๓๔)

สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากเป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากเป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” [๓๘๙] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสารีบุตรเถระเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา- กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เป็นพระ อรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๒. อุปปัตติกถา (๓๔)

สก. พระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา- กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เป็น พระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระมหาปันถกเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” [๓๙๐] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นโลกิยะ ยังมีอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิสนธิจิตเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ สังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ ของสังกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๒. อุปปัตติกถา (๓๔)

สก. หากปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ สังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้” สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลละราคะ โทสะ โมหะ อโนตตัปปะได้ด้วยปฏิสนธิจิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิสนธิจิตเป็นมรรค ฯลฯ เป็นสติปัฏฐาน ... เป็นสัมมัปปธาน ... เป็นอิทธิบาท ... เป็นอินทรีย์ ... เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วย ปฏิสนธิจิตได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จุติจิตเป็นมรรคจิต ปฏิสนธิจิตเป็นผลจิตได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปปัตติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๐๑-๔๐๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8763&Z=8848                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=873              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=873&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4525              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=873&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4525                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :