ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๓. อนาสวกถา (๓๕)

๓. อนาสวกถา (๓๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๓๙๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ... อรหัตตมรรค ... อรหัตตผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ของพระอรหันต์ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒) @ เพราะมีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เนื่องกับพระอรหันต์ล้วนปราศจากอาสวกิเลส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๓. อนาสวกถา (๓๕)

สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกยกย่องและถูกข่ม ถูกตัดและทำลาย เป็น ของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะยังถูกยกย่องและถูกข่ม ยังถูก ตัดและทำลาย เป็นของทั่วแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจอง จำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๓. อนาสวกถา (๓๕)

สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ ขื่อคา เครื่องจองจำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจอง จำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๙๒] สก. หากพระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. หากพระอรหันต์ให้บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่ปุถุชน คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของ อาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๓. อนาสวกถา (๓๕)

สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. หากปุถุชนถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๓. อนาสวกถา (๓๕)

สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. หากปุถุชนถวายบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่ พระอรหันต์ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน เดียวกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๔. สมันนาคตกถา (๓๖)

ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ”
อนาสวกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๐๕-๔๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8849&Z=8973                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=890              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=890&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4542              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=890&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4542                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :