ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์๑- อีกเรื่องหนึ่ง
[๔๐๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗) @ เพราะมีความเห็นว่า อรหัตตมัคคัฏฐบุคคล (บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค) ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผลเบื้องต่ำ ๓ @คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เกิดขึ้นได้อีก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ เวทนา ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา- ปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธัง- โสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุ- ปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๗] สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระ โสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระอนาคามีเป็นคนคนเดียวกัน ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ- ผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๘] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดา- ปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยโสดาปัตติผล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ยังเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้ สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย สกทาคามิผล” สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่ หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย อนาคามิผล” สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๙] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย โสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยโสดาปัตติผล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิ- ผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยสกทาคามิผล” สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

[๔๑๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย โสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไป แล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว ไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๓ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยผล ๒” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๒ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม จากโสดาปัตติผลนั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และ ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” [๔๑๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยผล ๓ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก มรรค ๔ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากผล ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยผล ๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อม จากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม จากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม จากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อปราปิสมันนาคตกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๓๕-๔๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=9533&Z=9787                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=985              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=985&items=33              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4656              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=985&items=33              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4656                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.9/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :