ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๑. นิยามกถา (๕๓)

๖. ฉัฏฐวรรค
๑. นิยามกถา (๕๓)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๔๕] สก. นิยาม๑- เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖) @ เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม @ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๑. นิยามกถา (๕๓)

สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ให้นิยามอุบัติขึ้น ให้อุบัติ ขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิด ด้วยดีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางพวกก้าวลงสู่สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่งให้เกิด ให้เกิดด้วยดีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๔๖] สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๑. นิยามกถา (๕๓)

สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตตนิยามเป็น สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อรหัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ อรหัตต- นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)

สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๔๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น นิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปร. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น มิจฉัตตนิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิยามกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๗๓-๔๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10373&Z=10458                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1077              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1077&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4866              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1077&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4866                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv6.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :