ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
[๔๔๘] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ) ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นที่ดับ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗) @ เพราะมีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร มีอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าพระผู้ @มีพระภาคจะเสด็จอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)

สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๔๙] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)

สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)

สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๕๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ ทั้งหลาย ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ เป็นเหตุความดำรงอยู่แห่งธรรม เป็นเหตุ กำหนดความแน่นอนแห่งธรรม คือความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ยิ่ง ได้บรรลุธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว จึงตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ ก่อตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายขึ้น” ตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็น ปัจจัย ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ ฯลฯ” และตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้แล ภิกษุ ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่ผิด ความไม่เป็นอย่างอื่น คือความที่ธรรมนี้เป็น ปัจจัย มีอยู่ในสภาวธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้ อันนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง [๔๕๑] สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๐/๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)

สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่๒- สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ- สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาว ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๓ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๓ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ- สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ใน ปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอน @เชิงอรรถ : @ เพราะเห็นว่า ไม่มีในพระสูตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘) @ เพราะเห็นคล้อยตามลัทธิที่ยึดถือ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๓. สัจจกถา (๕๕)

แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๑๒ อย่าง ที่เร้นมี ๑๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน มี ๑๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๗๖-๔๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10459&Z=10580                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1084              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1084&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4884              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1084&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4884                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv6.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :