ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๓๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปัจจัย
[๓๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจาก ฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาด้วยจิตที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้ แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะ ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อฌานที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเสื่อมไปแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะ ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- เวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณา กิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

พระอริยะรู้จิตของบุคคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาด้วย เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๓) [๔๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภโทสะ โทสะจึงเกิดขึ้น โมหะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภโมหะที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โมหะจึงเกิดขึ้น โทสะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภกายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยทุกข์ โทสะจึงเกิดขึ้น โมหะจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วสุข- เวทนา โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณา กิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่ เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พิจารณากิเลสที่ ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระอริยะ รู้จิตของบุคคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๔๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณาด้วยจิตที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออก จากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พระ อริยะมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิต สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัย แก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย เพราะ ปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึง เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา พระอริยะมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ซึ่งสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พิจารณากิเลสที่ข่มได้ แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเห็นแจ้งขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อ ฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเสื่อมแล้ว กลับมีวิปฏิสาร โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาจึง เกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๔๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผล แล้วพิจารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ยินดี เพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒) [๔๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) [๔๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ แล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วย จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผลแล้วพิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วย จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- เวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เพราะ ทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลมี จิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ออกจากฌานที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ออกจากมรรค ออกจากผล แล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
อนันตรปัจจัย
[๔๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่โคตรภูโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดย อนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัย แก่อุปปัตติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย กายวิญญาณที่สหรคตด้วย สุขเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก ซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยอนันตรปัจจัย กุศลและอกุศลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) [๔๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เป็นปัจจัย แก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัย แก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (๒) [๔๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ โคตรภูที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็น ปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่าน ผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตร- ปัจจัย ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น ปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดย อนันตรปัจจัย กุศลและอกุศลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอนันตรปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

สมนันตรปัจจัย
[๔๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
สหชาตปัจจัย
[๔๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัย แก่ ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาต- ปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย (๑) [๕๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย (ไม่มีปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา) (๑) [๕๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- เวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย (๑)
อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัย
[๕๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอัญญมัญญปัจจัยเป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (อัญญมัญญปัจจัย และนิสสยปัจจัยเหมือนสหชาตปัจจัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

อุปนิสสยปัจจัย
[๕๓] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป- นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาอาศัยศรัทธาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น (ทำอภิญญา ให้เกิดขึ้น) ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข จึงให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น (ในศีล สุตะ จาคะ และปัญญาซึ่งมี ศรัทธาเป็นที่ ๕ พึงเพิ่มคำว่า มีมานะ ถือทิฏฐิ เข้าด้วย ในหมวดธรรมที่เหลือ ไม่ต้องเพิ่มเข้า) บุคคลมีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ที่ ทางเปลี่ยว ผิดภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคล อาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มี การ แสวงหาเป็นมูลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูลอาศัยราคะที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข จึงฆ่าสัตว์ มีจิตสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้น เรือนหลังเดียว ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ผิดภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่า มารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายทำพระโลหิตของพระตถาคต ให้ห้อ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่ สหรคตด้วยทุกข์และขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลมีจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาอาศัย ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิอาศัยศีลที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข จึงให้ทานด้วยจิตที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ มีจิตที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ งัดแงะ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ที่ทางเปลี่ยว ผิดภรรยาผู้อื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุข และขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๕๔] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยโทสะ จึงฆ่าสัตว์ มีจิตที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อาศัยโมหะ ... กายวิญญาณที่ สหรคตด้วยทุกข์ จึงฆ่าสัตว์ มีจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เป็นปัจจัยแก่โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ... ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยโทสะ มีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีจิตสัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน อาศัยโมหะ ... กายวิญญาณที่ สหรคตด้วยทุกข์ มีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ... ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยโทสะ มีจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม อาศัยโมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ มีจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา ... ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๕๕] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา มีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีจิตสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาว นิคม ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ... ศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา และขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป- นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา มีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีจิตสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ฆ่าชาว นิคม ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา และ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา ... กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ... ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึง ทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน เสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูลอาศัยศีลที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ มีจิตสัมปยุตด้วย ทุกขเวทนา ลักทรัพย์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่โทสะ ... โมหะ ... กายวิญญาณที่สหรคต ด้วยทุกข์ ... ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
อาเสวนปัจจัย
[๕๖] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิดหลังๆ โดย อาเสวนปัจจัย อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย อาเสวนปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๕๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดย กัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย (๓) [๕๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย (๒) [๕๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและ นานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๒. เวทนาติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา โดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัย
[๖๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดย วิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก ซึ่ง สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๖๑] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาโดยอาหารปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ เป็น ปัจจัยโดยฌานปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๖๗๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๐ หน้าที่ ๖๖๓-๖๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=149              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=15604&Z=16053                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=1140              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=40&item=1140&items=52              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=40&item=1140&items=52                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu40



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :