ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๕๕] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยเหตุ- ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย
[๕๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณา กุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณา โวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคล ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็น ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๕๗] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะ ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌาน ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณ พิจารณาเจโต- ปริยญาณ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณายถากัมมูปคญาณ และ พิจารณาอนาคตังสญาณ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น (๒) [๕๘] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอัปปมาณะ ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๓)
อธิปติปัจจัย
[๕๙] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่เป็นปริตตะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง เกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ทิพพจักขุ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังส- ญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นมหัคคตะให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๖๐] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดย อธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
อนันตรปัจจัย
[๖๑] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น ปริตตะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ฯลฯ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดย อนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย บริกรรม- ปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๓) [๖๒] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น มหัคคตะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่เป็น มหัคคตะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติของท่านผู้ออกจาก นิโรธโดยอนันตรปัจจัย (๓) [๖๓] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ฯลฯ ผล เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตะโดยอนันตรปัจจัย (๓) (สมนันตรปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตปัจจัย
[๖๔] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยสหชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดย สหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับ เหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยสหชาต- ปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยสหชาต- ปัจจัย (๒) [๖๕] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๖๖] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาต- ปัจจัย ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยสหชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๖๗] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นปริตตะโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและมหาภูตรูปเป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ โดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น มหัคคตะโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะและ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ (๒)
อัญญมัญญปัจจัย
[๖๘] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่า อสัญญสัตตพรหม ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอัญญมัญญ- ปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดย อัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอัญญมัญญ- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอัญญมัญญ- ปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดย อัญญมัญญปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุโดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ (๓) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น มหัคคตะโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ (๑)
นิสสยปัจจัย
[๖๙] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยนิสสย- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่ หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัย แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะโดยนิสสยปัจจัย (๓) [๗๐] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย นิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิ- ขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๗๑] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสย- ปัจจัย ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ (๓) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น ปริตตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อัปปมาณะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะและหทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ โดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น มหัคคตะโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะและ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

อุปนิสสยปัจจัย
[๗๒] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นปริตตะแล้ว ให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถ ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น มีมานะถือทิฏฐิอาศัยศีลที่เป็นปริตตะ ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... เสนาสนะแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ... ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ... ปัญญา ... ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ... ปัญญา ... ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาตโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงทำให้เป็นจักกนัย) มาตุฆาตกรรมเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงทำให้เป็นจักกนัยเหมือนกับกุสลติกะ) (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นปริตตะแล้วทำฌานที่เป็น มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น ปริตตะ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ทำฌานที่เป็น มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็น ปริตตะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ ปัญญาโดย อุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นปริตตะแล้วทำฌานที่เป็น อัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น ปริตตะ ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ทำฌานที่เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำ ผลสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญา ... มรรค ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ... บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่ จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๗๓] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นมหัคคตะแล้วทำฌานที่เป็น มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น มหัคคตะ ฯลฯ ปัญญาแล้วทำฌานที่เป็นมหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิด ขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย อุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นมหัคคตะแล้วให้ทาน สมาทาน ศีล รักษาอุโบสถ ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่เป็นมหัคคตะ ... ปัญญาแล้วให้ทาน ... ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ... ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นมหัคคตะแล้วทำฌานที่เป็น อัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่เป็น มหัคคตะ ... ปัญญาแล้ว ทำฌานที่เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น อัปปมาณะ ... ปัญญา ... มรรค ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๗๔] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทำฌานที่ เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่ เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาแล้ว ทำฌานที่เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้ เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัย แก่ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมมรรคเป็นปัจจัย แก่ทุติยมรรค ... ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ฯลฯ มรรคเป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ... ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ... ทำวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ... ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ... ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วเห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ฯลฯ มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ นิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อุปนิสสยปัจจัยมี ๒ อย่างคือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทำฌานที่เป็น มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น อัปปมาณะ ... ปัญญา แล้วทำฌานที่เป็นมหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น มหัคคตะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทำสมาบัติที่ยัง ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๗๕] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ... ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยปุเรชาต- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น อัปปมาณะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๗๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๗๗] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น ปริตตะซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน- ปัจจัย ได้แก่ บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานนั้นเองโดยอาเสวนปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น เองโดยอาเสวนปัจจัย บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็น ปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอาเสวนปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอาเสวน- ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย อาเสวนปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ ซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๗๘] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมม- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเป็น ปริตตะและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมม- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยกัมม- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง เป็นมหัคคตะและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓) [๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย กัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง เป็นอัปปมาณะโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปากปัจจัย
[๘๐] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่ หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยวิปากปัจจัย ฯลฯ (มี ๓ วาระ พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) (๓) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ (มีเฉพาะปวัตติกาล)
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๘๑] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อาหารปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น อัปปมาณะโดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) [๘๒] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัย
[๘๓] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัย แก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ- ปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ โดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะ โดยอัตถิปัจจัย (๓) [๘๔] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิ- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๘๕] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (๓) [๘๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ อินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่ กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กาย นี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น มหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะ และ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุ ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย (๒)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๘๗] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ กัมมปัจจัย มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๗ วาระ ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๘๘] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น มหัคคตะโดยสหชาตปัจจัยและกัมมปัจจัย (๔) [๘๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย อารัมมณปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น อัปปมาณะโดยสหชาตปัจจัย (๔) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น ปริตตะ มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อัปปมาณะ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๑) สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น มหัคคตะ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๙๐] นเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๒ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๑๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๔ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๔ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๐ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑๐ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๑๐ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๙๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๗ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๗ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๙๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๑๑ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร

อัญญมัญญปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๔ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
ปริตตติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๔๓๕-๔๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=10343&Z=10997                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1418              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=1418&items=123              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=1418&items=123                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :