ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๙๔] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุมรรคเบื้องบน ๓ พึงประหาณโดยเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ ฯลฯ (เหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ)
อารัมมณปัจจัย
[๙๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภเหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ) [๙๖] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น ยินดี เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่ มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคย สั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็น ปัจจัยแก่ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีเหตุ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง ๓ จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ อาวัชชนจิตและโมหะโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ พิจารณฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะ เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค เบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะ ขันธ์ที่สหรคตด้วย อุทธัจจะและโมหะจึงเกิดขึ้น (พึงทำอารัมมณฆฏนาให้เป็น ๓ วาระ) (๓)
อธิปติปัจจัยเป็นต้น
[๙๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง บน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๙๘] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลพิจารณากุศลที่เคย สั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็น ปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรค เบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิด เพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึง เกิดขึ้น (๒) (ในอนันตรปัจจัย ไม่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เพราะเหตุแห่ง สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ แต่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคต ด้วยอุทธัจจะ) ... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย ความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนเป็นปัจจัยแก่ความยินดีด้วย อำนาจความพอใจในสิ่งของของคนอื่นโดยอุปนิสสยปัจจัย ความยินดีด้วยอำนาจ ความพอใจในสิ่งหวงแหนของตนเป็นปัจจัยแก่ความยินดีด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งหวงแหนของคนอื่นโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและโมหะ โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๐๐] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้ เกิดขึ้น ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ และความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

มรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (แม้อุปนิสสยฆฏนา ก็พึงทำเป็น ๓ วาระ) (๓)
ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๐๑] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย (นานาขณิกะ มีได้ในเหตุแห่งการจำแนกสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วย มรรคเบื้องบน ๓) ฯลฯ ... เป็นปัจจัยโดยโนวิคตปัจจัย (ย่อ ปัจจัยในภาวนายตัพพเหตุกทุกะ ปัจจนียะ วิภาค และการนับเหมือนกับ ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน) สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ (ยิ่งกว่านั้น พึงเพิ่มความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนด้วย) สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ฯลฯ (ยิ่งกว่านั้น พึงเพิ่มความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนด้วย)
ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=85              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=10453&Z=10582                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=636&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=636&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :