ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๒. นิยสกรรม
เรื่องภิกษุเสยยสกะ
[๑๑] สมัยนั้น ท่านพระเสยยสกะเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้อง อาบัติกำหนดไม่ได้ ชอบอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุ ก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ นั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติ กำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า การ กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สงฆ์จงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้ กลับไปถือนิสัยใหม่”
วิธีลงนิยสกรรมและกรรมวาจา
สงฆ์พึงลงนิยสกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วให้ เธอให้การแล้วปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต และอัพภานอยู่ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้ กลับไปถือนิสัยใหม่ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับ ไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้น พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ เสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับ คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้งๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง นิยสกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ สงฆ์ เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม ๓. ไม่ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน ๓. ลงตามปฏิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรม ชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๒. นิยสกรรม

ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๑-๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=455&Z=662                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=43              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=43&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5710              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=43&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5710                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:9.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.9.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :