บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
อากังขมานจตุกกะ ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปฏิสารณียกรรม ๔ หมวด หมวดที่ ๑ [๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของพวกคฤหัสถ์ ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์ ๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. ด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์ ๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ เหล่านี้แล (๑)หมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์๑- @เชิงอรรถ : @๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า,พระธรรม,พระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ หมายถึงติเตียนต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ @(วิ.อ. ๓/๓๙/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๗}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
๔. ด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า ๕. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ เหล่านี้แล (๒)หมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์ ๓. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์ ๔. รูปหนึ่งด่าปริภาษพวกคฤหัสถ์ ๕. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้แล (๓)หมวดที่ ๔ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๕ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์ ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ๓. พวกหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ ๔. รูปหนึ่งด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า ๕. รูปหนึ่งรับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้แล (๔)อากังขมานจตุกกะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๘}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
อัฏฐารสวัตตะ ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปฏิสารณียกรรม [๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมพึงประพฤติชอบ การ ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะอัฏฐารสวัตตะในปฏิสารณียกรรม จบ สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม [๔๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรม นั้นไปขอขมาจิตตคหบดี ภิกษุสุธรรมนั้นถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว เดินทาง ไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ต้องเก้อเขิน ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้จึงกลับมายังกรุง สาวัตถีอีก ภิกษุทั้งหลายถามเธอว่า ท่านขอขมาจิตตคหบดีแล้วหรือ ภิกษุสุธรรมตอบว่า ผมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์เพราะเรื่องนี้ ต้องเก้อเขิน ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๗๙}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้ภิกษุอนุทูต แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดีวิธีให้พระอนุทูตและกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้พระอนุทูตอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงให้ภิกษุยอมรับ ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ภิกษุนี้เป็น พระอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุเป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ภิกษุนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุนี้สงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้วเพื่อขอขมาจิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้วิธีขอขมาของภิกษุสุธรรม [๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ภิกษุสุธรรมพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับ พระอนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดีว่า จิตตคหบดี ท่านโปรดยกโทษ อาตมาจะ ทำให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า จิตตคหบดี ขอท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้ จะทำให้ท่านเลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายัง ไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้ อาตมาจะทำท่านให้เลื่อมใส ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษให้ตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘๐}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
คำของสงฆ์ ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงให้ภิกษุสุธรรม ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้นั่ง กระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วให้แสดงอาบัตินั้นไม่เลยเขตที่จิตตคหบดีจะมองเห็น จะได้ยิน ต่อมา ท่านภิกษุสุธรรมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับพระอนุทูตแล้วขอ ขมาจิตตคหบดี ท่านกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ กระผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์พึงระงับปฏิสารณีย กรรมแก่ภิกษุสุธรรมนัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม หมวดที่ ๑ [๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘๑}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แลนัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘๒}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม หมวดที่ ๑ [๔๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๒ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม ๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลหมวดที่ ๓ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘๓}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แลปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ วิธีระงับปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา [๔๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรม พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลง ปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอ ระงับปฏิสารณียกรรม พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อม กันแล้ว พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๘๔}
พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]
๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่พระสุธรรม สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๗๗-๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=8 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=1774&Z=1989 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=159 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=159&items=15 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=159&items=15 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:20.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.20.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]