ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องประคดเอว
[๒๗๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้คาดประคดเอวเข้าไปบิณฑบาต อันตรวาสก (สบง)ของท่านหลุดที่ถนน คนทั้งหลายเห็นแล้วพากันโห่ร้อง ภิกษุนั้นเขินอาย ครั้น ภิกษุนั้นไปถึงวัดจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้คาดประคดเอวไม่พึงเข้า หมู่บ้าน รูปใดเข้า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ประคดเอวชนิดต่างๆ คือ ประคดถักเชือก ถัก เป็นหัวงูน้ำ กลมคล้ายเกลียวเชือก คล้ายสังวาล คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ประคดเอวชนิดต่างๆ คือ ประคดถักเชือก ถักเป็นหัวงูน้ำ กลมคล้ายเกลียวเชือก คล้ายสังวาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอว ๒ ชนิด คือ ประคดแผ่นผ้า ประคดไส้สุกร” ชายประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ถักคล้ายเกลียวเชือก หรือคล้ายสังวาล” ปลายประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้เย็บทบเข้ามาแล้วถักเป็นห่วง” ปลายห่วงประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตลูกถวิน”๑-
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวิน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวินชนิดต่างๆ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกถวินชนิดต่างๆ รูป ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวินทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขาสัตว์ ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ฯลฯ ทำด้วยกระดองสังข์ ทำด้วย เส้นด้าย” @เชิงอรรถ : @ ลูกถวิน คือ ห่วงร้อยสายประคตเอว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

เรื่องลูกดุม
[๒๗๙] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ห่มสังฆาฏิเนื้อบางเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน สังฆาฏิถูกลมบ้าหมูพัดเวิกขึ้น ครั้นท่านพระอานนท์กลับไปถึงอารามจึงบอกเรื่องนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม รังดุม” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ลูกดุมชนิดต่างๆ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน คน ทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกดุมชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุมทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วย เขาสัตว์ ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้จริง ทำด้วยยางไม้ ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยกระดองสังข์ ทำด้วยเส้นด้าย” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บติดลูกดุมบ้าง รังดุมบ้างที่จีวร จีวรขาด ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นผ้ารองลูกดุม ผ้า รองรังดุม” ภิกษุทั้งหลายเย็บแผ่นผ้ารองลูกดุม ผ้ารองรังดุมที่ชายจีวร มุมผ้าเปิด ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม ผ้ารองรังดุมที่ชายผ้าลึกเข้าไป ๗-๘ องคุลี”๑- @เชิงอรรถ : @ มาตราวัดโบราณ องคุลีเท่ากับ ๑ นิ้ว ยาวเท่ากับช่วงข้อปลายของนิ้วกลาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๖๕-๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1212&Z=1253                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=163              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=163&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=163&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:29.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.29



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :