ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[๓๐๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น @เชิงอรรถ : @ กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๕/๑๒๐) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้ @ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้ ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย เคารพ ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่ ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง” ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้” ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๒๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

[๓๐๙] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วสงฆ์พึงใหนวกรรม วิหาร๑- ของคหบดี แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่ ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง นวกรรมวิหารของคหบดี สงฆ์ให้แก่ชื่อภิกษุนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๑๙-๑๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=2141&Z=2169                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=259              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=259&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7394              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=259&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7394                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:5.1.6 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :