ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การ งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงด ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๘๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล ๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล ๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล ๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยมีมูล ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล ๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล ๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ ๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ ๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ ๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ ๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ ๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ ๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ ๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ ๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกมิได้ค้างอยู่ ๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขาไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขามิได้ค้างอยู่ ๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม ๖. ไม่ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมไม่ค้างอยู่ ๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ไม่มีอยู่ ๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ไม่มีอยู่ ๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ไม่มีอยู่ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ ๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่ ๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่ ๕. ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม ๖. ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมค้างอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่ ๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติมีอยู่ ๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติมีอยู่ นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
๖. ธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรม
[๓๘๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุต้องธรรมคือปาราชิก ด้วยอาการ ด้วย ลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ต้องธรรมคือปาราชิก ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้อง ธรรมคือปาราชิกก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมคือ ปาราชิก” ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้องธรรมคือปาราชิก ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมชื่อปาราชิก” แต่ภิกษุ(ผู้ต้องธรรมคือปาราชิก)นั้นเองบอก ภิกษุว่า “ผมต้องธรรมคือปาราชิก” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก สงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ต้องธรรมคือปาราชิก ข้าพเจ้างด ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๘๙] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ ๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น ๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา ๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรือ อาวาสอื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น” ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้น ยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๐] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุบอกคืนสิกขา ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้บอกคืนสิกขา ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้บอกคืนสิกขา ก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุนี้บอกคืนสิกขา” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ ผู้บอกคืนสิกขา ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้บอกคืนสิกขา” แต่ภิกษุ (ผู้บอกคืนสิกขา)นั้นเอง บอกภิกษุว่า “ผมบอกคืนสิกขา” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย นึกสงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้บอกคืนสิกขา ข้าพเจ้างดปาติโมกข์ แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

[๓๙๑] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด อย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ ๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อผู้นั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาสอื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงวินิจฉัยเรื่องนั้น” ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคล นั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๒] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม คือ ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมด้วย อาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น) ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ (นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วม สามัคคีที่ชอบธรรม ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคี ที่ชอธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมไม่ เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก สงสัยนั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๓] ที่ชื่อว่า ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม คือ ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็น ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้าน สามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุอื่นก็ไม่ บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ค้านสามัคคีที่ชอบ ธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย นึกสงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้า งดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๔] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ ๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาส อื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัย เรื่องนั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ ชอบธรรม [๓๙๕] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่ คือ ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย เพราะสีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผู้ เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้ นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและ มีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มี ผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัย” แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ) นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อ บุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึกสงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก สงสัยเพราะสีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจาร วิบัติมีอยู่ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ

ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ ภิกษุนั้นมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ (นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุ (นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ทั้งภิกษุอื่น ก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห้น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะ อาจารวิบัติ แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ)นั้นเอง บอกภิกษุว่า “ผม มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก สงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม หน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม [๓๙๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ มีอยู่ คือ ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย เพราะทิฏฐิวิบัติด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมาย ที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี ผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” แต่ภิกษุ (ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๙๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ]

๗. อัตตาทานอังคะ

และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้ นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก สงสัยนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้ นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม หน้าไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม มี ๑๐ อย่างนี้แล
ปฐมภาณวาร จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๘๗-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=5572&Z=5889                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=468              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=468&items=31              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=468&items=31                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/brahmali#pli-tv-kd19:3.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#Kd.19.3.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :