ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องผ้ากรองน้ำ
สมัยนั้น น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ๑- ผ้ากรองก็ไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ” ท่อนผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองมีรูปคล้ายทัพพี” ผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกกรองน้ำ” [๒๕๙] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินไปแคว้นโกศล รูปหนึ่งประพฤติไม่ สมควร ภิกษุรูปที่ ๒ จึงได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าทำอย่างนั้น นั่นไม่ สมควร” ภิกษุนั้นกลับโกรธ @เชิงอรรถ : @ อกัปปิยะ หมายถึงไม่ควร น้ำเป็นอกัปปิยะในที่นี้คือน้ำขุ่นไม่ควรดื่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ครั้งนั้น ภิกษุ(รูปที่กล่าวเตือน)นั้นกระหายน้ำ อ้อนวอนรูปที่โกรธดังนี้ว่า “ท่าน โปรดให้ผ้ากรองน้ำ ผมจักดื่มน้ำ” ภิกษุรูปที่โกรธไม่ยอมให้ ภิกษุรูป(ที่กล่าวเตือน) นั้นกระหายน้ำจนถึงแก่มรณภาพ ครั้นภิกษุไปถึงวัดได้เล่าเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “เพื่อนอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ท่านไม่ให้หรือ” ภิกษุผู้โกรธนั้นตอบว่า “อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย” ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถูกขอผ้ากรอง น้ำจึงไม่ให้เล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำก็ไม่ให้ จริงหรือ” ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย โมฆบุรุษ ไฉนเธอเมื่อถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ให้เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางไกลเมื่อถูกเขาอ้อนวอน ขอผ้า กรองน้ำจะไม่ให้ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีผ้า กรองน้ำ ไม่พึงเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน้ำหรือ กระบอกกรองน้ำ แม้มุมสังฆาฏิก็ควรอธิษฐานใช้กรองดื่มได้” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น สมัยนั้น ภิกษุทำนวกรรม(การก่อสร้าง) ผ้ากรองน้ำไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ผ้านั้นก็ไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ”
เรื่องทรงอนุญาตกุฎีกันยุง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกุฎีกันยุง”๑-
เรื่องทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ
[๒๖๐] สมัยนั้น ทายกทายิกาในกรุงเวลาสีจัดตั้งภัตตาหารประณีตไว้ตาม ลำดับ ภิกษุฉันภัตตาหารประณีต จนร่างกายอ้วนจึงมีอาพาธมาก ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจมีธุระต้องเดินทางไปกรุงเวสาลี เห็นภิกษุทั้งหลาย มีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุมีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก ขอประทาน พระวโรกาส พระองค์โปรดอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ ด้วยวิธีการอย่างนี้ ภิกษุ ทั้งหลายจักได้มีอาพาธน้อย” พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว ทูลลากลับ @เชิงอรรถ : @ กุฎีกันยุง คือกุฎีที่ทำด้วยจีวรเพื่อป้องกันยุง (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๓๑๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๒๕๙/๔๕๗ ม.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๑-๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=537&Z=575                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=72              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=72&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=72&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:13.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.13



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :