บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค หมวดว่าด้วยการไม่ระงับกรรม [๔๒๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่ ควรระงับกรรม พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรระงับ กรรม องค์ ๕ คือ ๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ แต่ยังให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕ คือ ๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม ๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕ คือ ๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม ๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๕. มีอาชีววิบัติ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีข้อปฏิบัติ ๕. ไม่ทำข้อวัตรและสิกขาให้บริบูรณ์ อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมคุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม [๔๒๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้ง ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ ประการ คือ ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ ๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ ๒. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่ง ๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ พึงนั่ง อาสนะตามสมควร ๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่างๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา ๕. พึงกล่าวธรรมเองหรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ อุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ หากภิกษุไม่ชอบใจในกรรมนั้น จะทำความคิดเห็นขัดแย้งกันก็ได้ แต่ควรควบคุมความสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอคิดว่า เราไม่ควรแตกต่างจากสงฆ์เลย อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสู่สงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ [๔๒๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อ พูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. กล่าวอ้างผู้อื่น ๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ ๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่กล่าวอ้างผู้อื่น ๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มากองค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม ๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ ๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน ๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม ๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มากองค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ ๑. กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น ๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ ๑. ไม่กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]
หัวข้อประจำวรรค
๓. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มากอานิสงส์ในการเรียนวินัย [๔๒๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ ๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว ๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ ๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม ๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แลนัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ หัวข้อประจำวรรค ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษกล่าวตำหนิกรรม สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมภิกษุผู้เป็นอลัชชี ภิกษุผู้เข้าสงคราม ภิกษุผู้มีความคิดมืดมน เป็นผู้อวดอ้าง กล่าวข่มขู่ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา อานิสงส์การเรียนวินัยพระบัญญัติคู่ที่ ๑ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๙๖-๖๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=107 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10663&Z=10791 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1165 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1165&items=5 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1165&items=5 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:22.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#BD.6.295
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]