ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ หมวดที่ ๒
องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ
[๔๖๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร หนอแล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่ แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ต้องไปเกิดใน อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค

๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค

อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความเห็น ชอบ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็น ชอบด้วยการให้จับสลาก อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๒. ทุติยสังฆเถทกวรรค

๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางความพอใจด้วยกรรม ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความพอใจ ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยการ ให้จับสลาก อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ ๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย ๕. ไม่อำพรางสัญญาด้วยกรรม ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ฯลฯ ไม่ อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้”
ทุติยสังฆเภทกวรรคที่ ๑๒ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส ด้วยการชี้แจง ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้รวมเป็น ๕ อิงความเห็น ความเห็นชอบ ความพอใจ และสัญญา ๓ อย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๓. อาวาสิกวรรค

มีนัยแยกเป็น ๕ นัยแล ขอท่านทั้งหลายจงรู้ ๒๐ วิธีถ้วน ในฝ่ายขาว เหมือน ๒๐ วิธีถ้วนในฝ่ายดำข้างหลัง เทอญ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๕๗-๖๖๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=117              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=12186&Z=12259                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1217              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1217&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1217&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:213.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.12



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :